Breaking News

มีสาระดีดี มาให้คุณในทุกๆวัน

3.สรรพนาม และปุจฉาสรรพนาม | บทที่10-13

 บทที่ 10 อันนี้ อันนั้น อันโน้น อันไหน  これ、それ、あれ、どれ


これ、それ、あれ、どれ เป็นคำสรรพนามแทนสิ่งของ มีรูปแบบการใช้งาน คือ

「これ」
「それ」
「あれ」
+ は +「คำนาม」+ です

คำนาม」+ は +「どれ」+ ですか

「どれ」+ が +「คำนาม」+ ですか



これ は 何 です か。
Kore wa nan desu ka
นี่คืออะไรครับ/ค่ะ
それ は 本 です。
Sore wa hon desu
นั่นคือหนังสือครับ/ค่ะ
あれ は ノート です か。
Are wa nooto desu ka
โน่นคือสมุดหรือครับ/ค่ะ
いいえ、あれ は ノート では ありません。教科書 です。
Iie, are wa nooto dewa arimasen. kyoukasho desu


ไม่ใช่ โน่นไม่ใช่สมุด ตำราเรียนครับ/ค่ะ
どれ  えんぴつ です か。
Dore ga enpitsu desu ka
อันไหนคือดินสอครับ/ค่ะ
これ  えんぴつ です。
kore ga enpitsu desu
อันนี้คือดินสอครับ/ค่ะ
ペン は どれ です か。
Pen wa dore desu ka?
ปากกาคืออันไหนครับ/ค่ะ
ペン は あれ です。
Pen wa are desu
ปากกาคืออันโน้นครับ/ค่ะ

 คำอธิบาย

  • これ (kore)、それ (sore)、あれ (are) เป็นคำใช้แทนสิ่งของ ตามระยะที่อยู่ห่างจากผู้พูดและผู้ฟัง
  • กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ใกล้กัน
    • これ จะใช้แทนสิ่งของที่อยู่ใกล้กับผู้พูดและผู้ฟัง
    • それ จะใช้แทนสิ่งของที่อยู่ไกลจากผู้พูดและผู้ฟัง
    • あれ จะใช้แทนสิ่งของที่อยู่ไกลมากยิ่งขึ้นจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
  • กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ห่างกัน
    • これ จะใช้แทนสิ่งของที่อยู่ใกล้กับผู้พูด แต่ไกลจากผู้ฟัง
    • それ จะใช้แทนสิ่งของที่อยู่ไกลจากผู้พูด แต่ใกล้กับผู้ฟัง
    • あれ จะใช้แทนสิ่งของที่อยู่ไกลจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
  • เรื่องสำคัญ
    แม้จะเรียนมาในบทก่อนหน้านี้แล้วว่า ประโยคคำนาม จะใช้ は เป็นคำช่วยเพื่อชี้ประธาน
    แต่หากเป็นประโยคคำนามที่เป็นคำถาม โดยมีคำปุจฉาสรรพนาม (ใคร อะไร ที่ไหน อันไหน) เป็นประธาน ก็จะเปลี่ยนคำช่วยชี้ประธานจาก  มาเป็น  แทน ทั้งในประโยคคำถามและประโยคคำตอบ ตามตัวอย่างที่ ⑤ และ ⑥

    สาเหตุเนื่องจาก は เป็นคำช่วยที่ใช้เน้นย้ำหรือเจาะจงประธาน ดังนั้น เมื่อผู้พูดก็ไม่ทราบว่ากำลังกล่าวถึงอะไร และใช้คำปุจฉาสรรพนามมาเป็นประธาน จึงไม่เป็นการเน้นย้ำหรือเจาะจงประธาน จึงต้องเปลี่ยนมาใช้ が เป็นคำช่วยชี้ประธานแทน
  • คำสรรพนาม これ、それ、あれ、どれ สามารถเป็นประธานในประโยคคุณศัพท์และประโยคกริยาได้เช่นเดียวกัน เช่น
    • これ は 大きい です
      Kore wa ookii desu
      อันนี้ใหญ่ครับ/ค่ะ
    • これ が あります か
      Kore ga arimasu ka
      อันนี้มีไหมครับ/ค่ะ

 อ่านตรงนี้หน่อย

これ、それ、あれ นอกจากจะใช้แทนสิ่งของแล้ว ยังใช้แทนสถานที่ พืช หรือสัตว์ก็ได้ (แต่จะไม่ใช้แทนคน) เช่น
  • あれ は 学校 です (Are wa gakkou desu) : โน่นคือโรงเรียน
  • それ は パンダ です (Sore wa panda desu) : นั่นคือหมีแพนด้าครับ/ค่ะ

 บทที่ 11 ที่นี่ ที่นั่น ที่โน่น ที่ไหน  ここ、そこ、あそこ、どこ

ここ、そこ、あそこ、どこ เป็นคำสรรพนามแทนสถานที่ มีรูปแบบการใช้งาน คือ

「ここ」
 「そこ」
「あそこ」
+ は +「คำนาม」+ です
「คำนาม」+ は +「どこ」+ ですか

「どこ」+ が +「คำนาม」+ ですか


ここ は どこ です か。
Koko wa doko desu ka
ที่นี่ที่ไหนครับ/ค่ะ
ここ は 学校 です。
Koko wa gakkou desu
ที่นี่โรงเรียนครับ/ค่ะ
すみません、そこ は 図書館 です か。
Sumimasen, soko wa toshokan desu ka
ขอโทษ ที่นั่นคือห้องสมุดหรือครับ/ค่ะ
いいえ、そこ は 図書館 では ありません。病院 です。
Iie, soko wa toshokan dewa arimasen. Byouin desu
ไม่ใช่ ที่นั่นไม่ใช่ห้องสมุด โรงพยาบาลครับ/ค่ะ
どこ  駅 です か。
Doko ga eki desu ka
ที่ไหนคือสถานีรถไฟหรือครับ/ค่ะ
そこ  駅 です。
Soko ga eki desu
ที่นั่นคือสถานีรถไฟครับ/ค่ะ
すみません、銀行 は どこ です か。
Sumimasen, ginkou wa doko desu ka
ขอโทษ ธนาคารอยู่ที่ไหนครับ/ค่ะ
銀行 は あそこ です。
Ginkou wa asoko desu
ธนาคารอยู่ที่โน่นครับ/ค่ะ

 คำอธิบาย

  • ここ (koko)、そこ (soko)、あそこ (asoko) เป็นคำสรรพนามแทนสถานที่ ตามระยะที่อยู่ห่างจากผู้พูดและผู้ฟัง
  • กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ใกล้กัน
    • ここ ใช้แทนสถานที่ใกล้กับผู้พูดและผู้ฟัง
    • そこ ใช้แทนสถานที่ห่างจากผู้พูดและผู้ฟัง
    • あそこ ใช้แทนสถานที่ไกลจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
  • กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ห่างกัน
    • ここ ใช้แทนสถานที่ใกล้กับผู้พูด แต่ไกลจากผู้ฟัง
    • そこ ใช้แทนสถานที่ไกลจากผู้พูด แต่ใกล้กับผู้ฟัง
    • あそこ ใช้แทนสถานที่ไกลจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
  • どこ (doko) เป็นคำใช้ในประโยคคำถาม ในกรณีที่ผู้พูดไม่รู้จักสถานที่ดังกล่าว หรือไม่ทราบว่าสถานที่นั้นอยู่ที่ไหน
  • หาก どこ มีสถานะเป็นประธานของประโยค ปกติจะใช้คำช่วยคือ  ทั้งในการถามและการตอบ ตามตัวอย่างที่ ⑤ และ ⑥
  • คำสรรพนาม ここ、そこ、あそこ、どこ สามารถเป็นประธานในประโยคคุณศัพท์ได้ เช่น
    • ここ は 静か です
      Koko wa shizuka desu
      ที่นี่เงียบ

 อ่านตรงนี้หน่อย

  • すみません เป็นคำที่ใช้กล่าวเมื่อจำเป็นต้องรบกวนผู้อื่น เช่น สอบถาม ไหว้วาน ขอทาง ขอความช่วยเหลือ เรียกความสนใจ ฯลฯ ซึ่งในภาษาพูดมักจะออกเสียงเป็น すいません (suimasen)
  • การกล่าวคำขอบคุณ จะใช้ว่า
    ありがとう ございます (arigatou gozaimasu) = ขอบคุณครับ/ค่ะ
    どうも ありがとう ございます (doumo arigatou gozaimasu) = ขอบคุณมากครับ/ค่ะ
  • ส่วนการกล่าวตอบคำขอบคุณ จะใช้ว่า
    いいえ、どういたしまして (iie, dou itashimashite) = ไม่เป็นไรครับ/ค่ะ
    หรือจะกล่าวสั้นๆ ว่า いいえ ก็ได้

 บทที่ 12 ทางนี้ ทางนั้น ทางโน้น ทางไหน  こちら、そちら、あちら、どちら

「こちら」
「そちら」
「あちら」
+ は +「คำนาม」+ です
「คำนาม」+ は +「こちら/そちら/あちら/どちら」+ ですか

「こちら/そちら/あちら/どちら」+ が +「คำนาม」+ ですか


こちら は おすし です。
Kochira wa osushi desu
ของทางนี้คือข้าวหน้าปลาดิบครับ/ค่ะ
そちら は おさしみ です。
Sochira wa osashimi desu
ของทางนั้นคือปลาดิบครับ/ค่ะ
あちら は 何 です か。
Achira wa nan desu ka
ของทางโน้นคืออะไรครับ/ค่ะ
あちら は おにぎり です。
Achira wa onigiri desu
ของทางโน้นคือข้าวปั้นห่อสาหร่ายครับ/ค่ะ
どちら  山田先生 です か。
Dochira ga Yamadasensei desu ka
คนทางไหนคืออาจารย์ยามาดะครับ/ค่ะ
あちら  山田先生 です。
Achira wa Yamada sensei desu
คนทางโน้นคืออาจารย์ยามาดะครับ/ค่ะ
田中さん は どちら です か。
Tanakasan wa dochira desu ka
คุณทานากะคือคนทางไหนครับ/ค่ะ
田中さん は こちら です。
Tanakasan wa kochira desu
คุณทานากะคือคนทางนี้ครับ/ค่ะ
すみません、公園 は どちら です か。
Sumimasen, kouen wa dochira desu ka
ขอโทษ สวนสาธารณะอยู่ทางไหนครับ/ค่ะ
公園 は あちら です。
Kouen wa achira desu
สวนสาธารณะอยู่ทางโน้นครับ/ค่ะ
そちら は 何 です か。
Sochira wa nan desu ka
สิ่งทางนั้นคืออะไรครับ/ค่ะ
そちら は 病院 です。
Sochira wa byouin desu
สิ่งทางนั้นคือโรงพยาบาลครับ/ค่ะ

คำอธิบาย

  • こちら (kochira)、そちら (sochira)、あちら (achira) เป็นคำสรรพนามแทนคน/สิ่งของ/สถานที่ ตามระยะที่อยู่ห่างจากผู้พูดและผู้ฟัง โดยนำทิศทางเข้ามารวมอยู่ในความรู้สึกในการพูดด้วย
  • กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ใกล้กัน
    • こちら ใช้แทนคน/สิ่งของ/สถานที่ ซึ่งอยู่ใกล้ผู้พูดและผู้ฟัง
    • そちら ใช้แทนคน/สิ่งของ/สถานที่ ซึ่งอยู่ห่างจากผู้พูดและผู้ฟัง
    • あちら ใช้แทนคน/สิ่งของ/สถานที่ ซึ่งอยู่ไกลจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
  • กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ห่างกัน
    • こちら ใช้แทนคน/สัตว์/สิ่งของ ซึ่งอยู่ใกล้ผู้พูด แต่อยู่ไกลจากผู้ฟัง
    • そちら ใช้แทนคน/สัตว์/สิ่งของ ซึ่งอยู่ไกลจากผู้พูด แต่อยู่ใกล้ผู้ฟัง
    • あちら ใช้แทนคน/สัตว์/สิ่งของ ซึ่งอยู่ไกลจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
  • どちら (dochira) เป็นคำสรรพนามในประโยคคำถาม ในกรณีที่ผู้พูดไม่รู้จักหรือไม่ทราบว่าคน/สิ่งของ/สถานที่นั้นคืออันไหนหรืออยู่ทางไหน
  • หาก どちら มีสถานะเป็นประธานของประโยค ปกติจะใช้คำช่วยคือ  ทั้งในการถามและการตอบ ตามตัวอย่างที่ ⑤ และ ⑥
  • คำสรรพนาม こちら、そちら、あちら、どちら สามารถเป็นประธานในประโยคคุณศัพท์และประโยคกริยาได้เช่นเดียวกัน เช่น
    • そちら が 高い です か
      Sochira ga takai desu ka
      (ของ)ทางนั้นแพงหรือครับ/ค่ะ
    • こちら が 行きます
      Kochira ga ikimasu
      คนทางนี้(=ฉัน)จะไปครับ/ค่ะ
อ่านตรงนี้หน่อย
  • ในภาษาพูด สามารถแทนคำว่า こちら、そちら、あちら、どちら ด้วยคำว่า こっち (kotchi)、そっち (sotchi)、あっち (atchi)、どっち (dotchi) ก็ได้ แต่จะมีความสุภาพน้อยลง
  • どちら มีความหมายว่า คนไหน อันไหน ทางไหน จึงมักจะใช้ในกรณีที่มีตัวเลือกเพียง 2 ชนิดเท่านั้น
  • หากเป็นการเลือกตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป มักจะใช้คำว่า どれ (dore) ซึ่งเคยเรียนในบทก่อนหน้านี้แล้ว
  • แต่คำว่า どれ จะไม่ใช้กับคน ดังนั้น การให้เลือกคนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จึงจะใช้คำว่า どなた (donata : ใคร) ซึ่งเป็นคำสุภาพ หรือใช้คำว่า 誰 (dare : ใคร) แต่จะสุภาพน้อยกว่า

 บทที่ 13 ~นี้ ~นั้น ~โน้น ~ไหน  この、その、あの、どの


この、その、あの、どの เป็นคำขยายคำนาม เพื่อระบุตำแหน่งหรือทิศทาง มีรูปแบบการใช้งาน คือ

「この」
「その」
「あの」
+「ประธาน」+ は +「คำนาม」+ です
「ประธาน」+ は +「この」
「その」
「あの」
「どの」
+「คำนาม」+ ですか

「どの」+「ประธาน」+ が +「คำนาม」+ ですか

この 人 は 大学生 です か。
Kono hito wa daigakusei desu ka
คนนี้เป็นนักศึกษาหรือครับ/ค่ะ
いいえ、その 人 は 先生 です。
Iie, sono hito wa sensei desu
เปล่า คนนั้นเป็นอาจารย์ครับ/ค่ะ
大学 は あの 建物 です か。
Daigaku wa ano tatemono desu ka
มหาวิทยาลัยคือตึกโน้นหรือครับ/ค่ะ
はい、大学 は あの 建物 です。
Hai, daigaku wa ano tatemono desu
ใช่ มหาวิทยาลัยคือตึกโน้นครับ/ค่ะ
すみません、どの 店  ケーキ屋 です か。
Sumimasen, dono mise ga keekiya desu ka
ขอโทษ ร้านไหนคือร้านขนมเค้กครับ/ค่ะ
あの 店  ケーキ屋 です。
Ano mise ga keeikiya desu
ร้านโน้นคือร้านขนมเค้กครับ/ค่ะ
すみません、どの 人  店長 です か。
Sumimasen, dono hito ga tenchou desu ka
ขอโทษ คนไหนคือเจ้าของร้านครับ/ค่ะ
はい、私  店長 です。
Hai, watashi ga tenchou desu
ครับ/ค่ะ ฉันคือเจ้าของร้านครับ/ค่ะ

 คำอธิบาย
  • この~ (kono)、その~ (sono)、あの~ (ano) เป็นคำขยายคน/สัตว์/สิ่งของ/สถานที่ ตามทิศทางและระยะห่างจากผู้พูดและผู้ฟัง
  • กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ใกล้กัน
    • この จะใช้ขยายคน/สัตว์/สิ่งของ ที่อยู่ใกล้กับผู้พูดและผู้ฟัง
    • その จะใช้ขยายคน/สัตว์/สิ่งของ ที่อยู่ห่างจากผู้พูดและผู้ฟัง
    • あの จะใช้ขยายคน/สัตว์/สิ่งของ ที่อยู่ไกลจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
  • กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ห่างกัน
    • この จะใช้ขยายคน/สัตว์/สิ่งของ ที่อยู่ใกล้กับผู้พูด แต่อยู่ไกลจากผู้ฟัง
    • その จะใช้ขยายคน/สัตว์/สิ่งของ ที่อยู่ไกลจากผู้พูด แต่อยู่ใกล้กับผู้ฟัง
    • あの จะใช้ขยายคน/สัตว์/สิ่งของ ที่อยู่ไกลจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
  • どの~ (dono) เป็นคำขยายคน/สัตว์/สิ่งของ/สถานที่ ในประโยคคำถาม ในกรณีที่ผู้พูดไม่รู้จัก หรือไม่ทราบว่าคน/สัตว์/สิ่งของ/สถานที่นั้น คืออะไร หรือคืออันไหน
  • กรณีที่ใช้ どの ขยายคำนามที่มีสถานะเป็นประธานของประโยค ปกติจะใช้คำช่วย คือ  ทั้งในการถามและการตอบ ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑧
  • この~、その~、あの~、どの~ สามารถขยายคำนามในประโยคคุณศัพท์และประโยคกริยาได้เช่นเดียวกัน เช่น
    • この 本 は 難しい です
      Kono hon wa muzukashii desu
      หนังสือนี้ยากครับ/ค่ะ
    • あの 子 が 走ります
      Ano ko ga hashirimasu
      เด็กคนโน้นวิ่งครับ/ค่ะ
 อ่านตรงนี้หน่อย

この แตกต่างกับ これ、ここ、こちら ที่อธิบายในบทก่อนหน้านี้ คือ
  • この ไม่มีสถานะเป็นคำนาม จึงไม่สามารถนำไปเป็นประธานของประโยคได้ จะต้องใช้เพื่อขยายประธานหรือคำนามอื่นเท่านั้น
  • ส่วน これ、ここ、こちら เป็นคำสรรพนาม จึงสามารถนำไปเป็นประธานของประโยคได้