Breaking News

มีสาระดีดี มาให้คุณในทุกๆวัน

8.การผันคำกริยาและคำคุณศัพท์ | บทที่44-45

 บทที่ 44 การผันคำกริยา

คำอธิบาย

  • คำกริยาในภาษาญี่ปุ่น สามารถผันเป็นรูปแบบต่างๆ เพื่อเปลี่ยนความหมายได้มากกว่า 10 วิธี เช่น คำว่า "ทาน" สามารถผันเป็น "ไม่ทาน" "ทานแล้ว" "ถ้าทาน" "จงทาน" "ทานได้" "ทานไม่ได้" "ทานกันเถอะ" "ถูกทำให้ทาน" "จะไม่ทาน" "อยากทาน" เป็นต้น
  • หลักไวยากรณ์ญี่ปุ่นได้แบ่งคำกริยาเป็น 5 กลุ่ม และแบ่งวิธีการผันออกเป็น 6 แบบ แต่เนื่องจากวิธีดังกล่าวมีความยุ่งยากสำหรับชาวต่างชาติที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่น ดังนั้นในตำราเรียนของชาวต่างชาติ จึงมักจะแบ่งคำกริยาออกเป็น 3 กลุ่ม และแบ่งวิธีการผันออกเป็น 6 แบบ ซึ่งจะมีความสะดวกสำหรับผู้ที่ศึกษาโดยใช้อักษรโรมาจิ
  • การจัดกลุ่มคำกริยา : แบ่งตามวิธีการผันเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
    1. กลุ่มที่ 1
      คือคำที่ลงท้ายด้วยเสียง u (แต่ไม่รวมถึงคำที่ลงท้ายด้วยเสียง iru และ eru จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2) เป็นกลุ่มที่สามารถผันรูปแบบได้หลากหลาย แต่มีกฏเกณฑ์ที่ชัดเจน
    2. กลุ่มที่ 2
      คือคำกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียง iru หรือ eru (เว้นแต่คำบางคำที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1) เป็นกลุ่มที่สามารถผันได้เพียงรูปแบบเดียว จึงง่ายต่อการจดจำมากที่สุด
    3. กลุ่มที่ 3
      คือคำที่มีวิธีการผันเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งมีเพียง 2 คำ คือ 来る (kuru) และ する (suru) เป็นกลุ่มที่ไม่มีกฏเกณฑ์ในการผัน จึงต้องใช้วิธีท่องจำเท่านั้น
  • วิธีการผัน : แบ่งตามเสียงและหรือความหมาย เป็น 7 รูปแบบ ดังนี้
    1. dic form หรือฟอร์มในรูปพจนานุกรม เช่น
      書-く : ka-ku : เขียน
    2. nai form เช่น
      書-か-ない : ka-ka-nai : ไม่เขียน
    3. masu form เช่น
      書-き-ます : ka-ki-masu : เขียน (สุภาพ)
      書-き-ません : ka-ki-masen : ไม่เขียน (สุภาพ)
      書-き-ましょう : ka-ki-mashou : เขียนกันเถอะ (สุภาพ)
      書-き-たい : ka-ki-tai : อยากเขียน 書-き-たくない : ka-ki-takunai : ไม่อยากเขียน
    4. ta form เช่น
      書-い-た : ka-i-ta : เขียนแล้ว (อดีต)
      書-い-て : ka-i-te : (เป็นการผันเพื่อเชื่อมกับคำกริยาอื่น)
      書-い-たら : ka-i-tara : ถ้าเขียน
      書-い-たり : ka-i-tari : (เป็นการผันเพื่อเชื่อมกับคำกริยาอื่น)
    5. eba form เช่น
      書-け-ば : ka-ke-ba : ถ้าเขียน
      書-け-たら : ka-ke-tara : ถ้าได้เขียน
    6. form คำสั่ง เช่น
      書-け : ka-ke : จงเขียน
    7. ou form เช่น
      書-こう : ka-kou : เขียนกันเถอะ
  • การเปิดพจนานุกรม จะต้องค้นหาจากรูป dic form ไม่สามารถค้นหาจากรูปอื่นๆได้ จึงจำเป็นต้องศึกษาการผันคำกริยาให้เข้าอย่างถูกต้อง เพื่อให้สามารถผันคำศัพท์ที่พบเห็น ให้กลับไปในรูป dic form เพื่อค้นหาความหมายจากพจนานุกรมได้

 อ่านตรงนี้หน่อย

  • คำกริยา 行く (iku : ไป) เป็นคำกริยากลุ่มที่ 1 แต่มีข้อยกเว้นคือ ในการผันเป็นรูป ta form จะผันเป็น 行った (i-t-ta) ซึ่งเป็นการผันที่แตกต่างกับคำกริยาที่ลงท้ายด้วย ~く จึงต้องแยกจำเป็นกรณีพิเศษ
  • คำกริยาบางคำ แม้จะออกเสียงเหมือนกัน แต่จัดอยู่คนละกลุ่ม จึงผันคนละวิธีกัน ต้องแยกจำให้ถูกต้องว่าคำใดเป็นกลุ่มที่ 1 และคำใดเป็นกลุ่มที่ 2 เช่น
    กลุ่มที่ 1กลุ่มที่ 2
    切る
    ki-ru
    ตัด
    着る
    ki-ru
    สวมเสื้อ
    帰る
    kae-ru
    กลับ
    変える
    kae-ru
    เปลี่ยน
    要る
    i-ru
    ต้องการ
    居る
    i-ru
    อยู่
    練る
    ne-ru
    นวด
    寝る
    ne-ru
    นอน


 บทที่ 45 การผันคำคุณศัพท์ 


คำคุณศัพท์สามารถผันในรูปฟอร์มต่างๆได้ดังนี้



คำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1
Dic form赤いakai : แดง
ต้นศัพท์
ฟอร์มจบประโยค赤-りんご は 赤 : ringo wa akai : แอปเปิ้ลแดง
i form赤-これ は 赤 りんご だ : kore wa akai ringo da : นี่คือแอปเปิ้ลแดง
ta form赤-かっりんご は 赤かった : ringo wa akakatta : แอปเปิ้ลแดง (อดีต)
ku form赤-りんご は 赤なった : ringo wa akaku natta : แอปเปิ้ลกลายเป็นแดง
kere form赤-けれりんご は 赤ければ おいしい : ringo wa akakereba oishii : แอปเปิ้ลถ้าแดงจะอร่อย
karo form赤-かろりんご は 赤かろう : ringo wa akakarou : แอปเปิ้ลคงจะแดง

คำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2
Dic formきれいkirei : สวย
ต้นศัพท์きれい
ฟอร์มจบประโยคきれい-彼女 は きれい  : kanojo wa kirei da : เธอสวย
na formきれい-彼女 は きれい  人 だ : kanojo wa kirei na hito da : เธอเป็นคนสวย
ta formきれい-だっ彼女 は きれい だった : kanojo wa kirei datta : เธอสวย (อดีต)
de formきれい-彼女 は きれい  おとなしい : kanojo wa kirei de otonashii : เธอสวยและเรียบร้อย
ni formきれい-彼女 は きれい  なった : kanojo wa kirei ni natta : เธอสวยขึ้น
nara formきれい-なら彼女 が もっと きれい ならば もっと 有名 に なる : kanojo ga motto kirei naraba motto yuumei ni naru : ถ้าเธอสวยยิ่งกว่านี้ ก็จะยิ่งโด่งดัง
darou formきれい-だろう彼女 は きれい だろう : kanojo wa kirei darou : เธอคงสวย

ฟอร์มจบประโยค
 ปกติปฏิเสธอดีตอดีตปฏิเสธ
กลุ่มที่ 1เป็นกันเอง高-い
taka-i
高-く-ない
taka-ku-nai
高-かっ-た
taka-kat-ta
高-く-なかった
taka-ku-nakatta
สุภาพ高-い です
taka-i desu
高-く-ない です
taka-ku-nai desu
高-く-ありません
taka-ku-arimasen
高-かっ-た です
taka-kat-ta desu
高-く-なかった です
taka-ku-nakatta desu
高-く-ありません でした
taka-ku-arimasen deshita
กลุ่มที่ 2เป็นกันเอง好き-だ
suki-da
好き-じゃない
suki-janai
好き-ではない
suki-dewanai
好き-だっ-た
suki-dat-ta
好き-じゃなかった
suki-janakatta
好き-ではなかった
suki-dewanakatta
สุภาพ好き-です
suki-desu
好き-ではありません
suki-dewaarimasen
好き-じゃありません
suki-jaarimasen
好き-じゃないです
suki-janai desu
好き-ではないです
suki-dewanai desu
好き-でした
suki-deshita
好き-ではありませんでした
suki-dewa arimasendeshita
好き-じゃありませんでした
suki-ja arimasendeshita
好き-じゃなかったです
suki-janakatta desu
好き-ではなかったです
suki-dewanakatta desu