Breaking News

มีสาระดีดี มาให้คุณในทุกๆวัน

2.ประโยคสุภาพ | บทที่7-9

 บทที่ 7 ประโยคบอกเล่า

มี 3 ประเภท คือ 1) ประโยคคำนาม 2) ประโยคคุณศัพท์ และ 3) ประโยคกริยา


「ประธาน」+ は +「คำนาม」+ です

「ประธาน」+ は +「คุณศัพท์」+ です
「ประธาน」+ が +「กริยา」+ ます


田中さん  日本人 です
Tanakasan wa nihonjin desu
คุณทานากะเป็นคนญี่ปุ่นครับ/ค่ะ
私  タイ人 です
Watashi wa taijin desu
ฉันเป็นคนไทยครับ/ค่ะ
私  ソムチャイ です
Watashi wa somuchai desu
ผมชื่อสมชายครับ
大学生 です
Daigakusei desu
นักศึกษาครับ
象  大きい です
Zou wa ookii desu
ช้างใหญ่ครับ/ค่ะ
ねずみ  小さい です
Nezumi wa chiisai desu
หนูเล็กครับ/ค่ะ
桜  きれい です
Sakura wa kirei desu
ซากุระสวยครับ/ค่ะ
タイ人  親切 です
Taijin wa shinsetsu desu
คนไทยใจดีครับ/ค่ะ
子供  泣きます
Kodomo ga nakimasu
เด็กร้องไห้ครับ/ค่ะ
友達  来ます
Tomodachi ga kimasu
เพื่อนมาครับ/ค่ะ
本  あります
Hon ga arimasu
หนังสืออยู่ครับ/ค่ะ
日本人  居ます
Nihonjin ga imasu


คำอธิบาย
  • ประโยคในภาษาญี่ปุ่น มีโครงสร้างพื้นฐานคือ
    「ประธาน」+「ภาคแสดง」
    โดยภาคประธานจะต้องเป็นคำนาม ส่วนภาคแสดงจะเป็นคำนาม คำคุณศัพท์ หรือคำกริยาก็ได้
  • หากมีคำขยายภาคประธานหรือภาคแสดง ก็จะวางคำขยายไว้ข้างหน้าภาคประธานหรือภาคแสดงนั้นๆ เช่น
    「คำขยาย」「ประธาน」+「คำขยาย」「ภาคแสดง」
  • การวางประธานหรือคำขยายในประโยค ปกติจะต้องใช้คำช่วยทุกครั้ง เพื่อชี้ว่าคำนามแต่ละตัวทำหน้าที่อย่างไรในประโยค
  •  เฉพาะกรณีที่เป็นคำช่วย จะอ่านว่า wa เป็นคำช่วยเพื่อชี้หัวข้อเรื่อง ซึ่งบ่อยครั้งที่หัวข้อเรื่องจะเป็นประธาน ปกติจะใช้ในประโยคคำนาม ตามตัวอย่างที่ ①-④ และประโยคคุณศัพท์ ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑧
  • です เป็นคำช่วยจบประโยคบอกเล่าอย่างสุภาพ แสดงการยืนยันหรือมั่นใจ ใช้ในประโยคคำนามและประโยคคุณศัพท์
  • กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังทราบอยู่แล้วว่าประธานของประโยคคืออะไร จะไม่พูดทั้งประธานและ は ก็ได้ เช่น ตัวอย่างที่ 4 : (私は)大学生です : (ฉันเป็น) นักศึกษาครับ/ค่ะ
  •  เป็นคำช่วยเพื่อชี้ประธาน ปกติจะใช้ในประโยคกริยา ตามตัวอย่างที่ ⑨-⑫
  • ます เป็นการผันคำกริยาให้เป็นคำสุภาพ เพื่อใช้จบประโยคบอกเล่าอย่างสุภาพ
  • คำว่า あります ในตัวอย่างที่ ⑪ เป็นคำกริยาสุภาพ แปลว่า "อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น สิ่งของ และพืช
  • คำว่า 居ます ในตัวอย่างที่ ⑫ เป็นคำกริยาสุภาพ แปลว่า "อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งมีชีวิต คือ คนและสัตว์
  • สำนวน ~は~です และ ~が~ます เป็นสำนวนพื้นฐานที่จำเป็นมากที่สุดในการเรียนภาษาญี่ปุ่น จึงควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องชัดเจน ก่อนที่จะก้าวสู่บทต่อๆไป

 อ่านตรงนี้หน่อย
  • は และ が เป็นคำช่วยเพื่อชี้ประธานของประโยค ซึ่งสามารถใช้แทนกันได้ แต่จะมีความหมายแตกต่างกัน คือจะเป็นการจำเพาะเจาะจงประธานมากกว่าปกติ ซึ่งจะอธิบายในภายหลังต่อไป
  • です และ ます เป็นคำจบประโยคอย่างสุภาพ ใช้ได้ทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน โดย です จะใช้กับคำนามและคำคุณศัพท์ ส่วน ますจะใช้กับคำกริยา
  • ผู้ที่เริ่มศึกษาภาษาญี่ปุ่นควรใช้คำสุภาพ โดยจบประโยคด้วย です หรือะ ます ทุกครั้ง แต่จะต้องระวังไม่ให้สับสนกัน
  • ในภาษาพูด มักจะออกเสียง です และ ます ให้กระชับ โดยออกเสียง です ว่า des และออกเสียง ます ว่า mas
  • การเรียกชื่อคน เมื่อจะเรียกชื่อผู้อื่นให้เติมคำว่า さん เพื่อให้เกียรติ แต่หากเรียกชื่อตนเองไม่ต้องมีคำว่า さん เช่น
    ตัวอย่างที่ 1 : 田中さん は 日本人 です => พูดชื่อคนอื่น จึงต้องมีคำว่า さん เพื่อใหเกียรติ
    ตัวอย่างที่ 3 : 私 は ソムチャイ です => พูดถึงตนเอง จึงต้องไม่ใช้คำว่า さん มิฉะนั้นจะกลายเป็น "ผมชื่อคุณสมชาย"
  • คำช่วย เป็นคำที่มีความสำคัญมากในภาษาญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมื่อพูดประโยคยาวๆที่มีคำศัพท์หลายๆคำ เนื่องจากคำศัพท์แต่ละคำจะต้องมีคำช่วยต่อท้าย เพื่อให้ผู้ฟังทราบว่าคำศัพท์นั้นทำหน้าที่อะไรในประโยค
  • ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาไวยากรณ์ญี่ปุ่น มักจะใช้คำช่วยผิดบ่อยๆ หรือบางคนก็จะไม่ใช้คำช่วยเลย จึงทำให้ไม่สามารถสื่อสารประโยคยาวๆกับคนญี่ปุ่นได้ อีกทั้งยังจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิดได้ง่าย หรือสื่อสารไม่เข้าใจกัน ดังนั้น จึงควรฝึกฝนและใช้คำช่วยเสมอ
  • วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป
    เช่น ตัวอย่างที่ 2 : Watashi wa taijin desu จะพูดว่า watashiwa taijindesu

 บทที่ 8 ประโยคปฎิเสธ 

แบ่งเป็น 
1) ประโยคคำนามปฎิเสธ 
2) ประโยคคุณศัพท์ปฎิเสธ 
3)ประโยคกริยาปฎิเสธ
แต่เนื่องจากคำคุณศัพท์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 
ซึ่งผันในรูปปฏิเสธไม่เหมือนกัน จึงมีประโยคปฏิเสธ 4 แบบ ดังนี้

「ประธาน」+ は +「คำนาม」+ では ありません
「ประธาน」+ は +「คุณศัพท์กลุ่มที่ 1 + く」+ ありません
「ประธาน」+ は +「คุณศัพท์กลุ่มที่ 2」+ では ありません
「ประธาน」+ が +「คำกริยา」+ ません

あなた  大人 では ありません
Anata wa otona dewa arimasen
คุณไม่ใช่ผู้ใหญ่ครับ/ค่ะ
私  中国人 では ありません
Watashi wa chuugokujin dewa arimasen
ฉันไม่ใช่คนจีนครับ/ค่ะ
私  田中さん では ありません
Watashi wa Tanakasan dewa arimasen
ฉันไม่ใช่คุณทานากะครับ/ค่ะ
先生 では ありません
Sensei dewa arimasen
ไม่ใช่อาจารย์ครับ/ค่ะ
ねずみ  大きく ありません
Nezumi wa ookiku arimasen
หนูไม่ใหญ่ครับ/ค่ะ
象  小さく ありません
Zou wa chiisaku arimasen
ช้างไม่เล็กครับ/ค่ะ
海  きれい では ありません
Umi wa kirei dewa arimasen
ทะเลไม่สวยครับ/ค่ะ
彼  親切 では ありません
Kare wa shinsetsu dewa arimasen
เขาไม่ใจดีครับ/ค่ะ
子供  泣きません
Kodomo ga nakimasen
เด็กไม่ร้องไห้ครับ/ค่ะ
友達  来ません
Tomodachi ga kimasen
เพื่อนไม่มาครับ/ค่ะ
財布  ありません
Saifu ga arimasen
กระเป๋าสตางค์ไม่อยู่ครับ/ค่ะ
田中さん  居ません
Tanakasan ga imasen
คุณทานากะไม่อยู่ครับ/ค่ะ


คำอธิบาย
  • では ありません อ่านว่า dewa arimasen เป็นการเปลี่ยนคำว่า です ให้เป็นรูปปฏิเสธอย่างสุภาพ
  • ส่วน ません เป็นการเปลี่ยนคำว่า ます ให้อยู่ในรูปปฏิเสธอย่างสุภาพ
  • ประโยคคำนามปฏิเสธ จะเปลี่ยน です เป็น では ありません ตามตัวอย่างที่ ①-④
  • ประโยคคุณศัพท์ปฏิเสธ มี 2 แบบ คือ
    • คุณศัพท์กลุ่มที่ 1 จะเปลี่ยน い เป็น く และต่อท้ายด้วย ありません ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑥ คือ
      大きい (ooki-i) เปลี่ยนเป็น 大きく (ooki-ku) ありません
      小さい (chiisa-i) เปลี่ยนเป็น 小さく (chiisa-ku) ありません
    • คุณศัพท์กลุ่มที่ 2 จะคงรูปเดิม แต่เปลี่ยน です เป็น では ありません ตามตัวอย่างที่ ⑦-⑧
  • ประโยคกริยาปฏิเสธ จะเปลี่ยน ます เป็น ません ตามตัวอย่างที่ ⑨-⑫
  • การผันคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 ให้เป็นประโยคปฏิเสธอย่างสุภาพ นอกจากจะใช้วิธีเปลี่ยน い เป็น く และต่อท้ายด้วย ありません ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑥ แล้ว ยังมีอีกรูปแบบหนึ่งคือเปลี่ยน い เป็น く และต่อท้ายด้วย ない です คือ
    • ねずみ は 大きくない です
      Nezumi wa ookikunai desu
    • 象 は 小さくない です
      Zou wa chiisakunai desu
  • รายละเอียดการผันคำคุณศัพท์และคำกริยาให้อยู่ในรูปต่างๆ จะอธิบายในภายหลังต่อไป
  • กรณีที่ทราบอยู่แล้วว่าประธานของประโยคคืออะไร จะไม่พูดทั้งประธานและคำช่วยก็ได้ เช่น ตัวอย่างที่ 4 : (私は)先生 では ありません (ฉัน)ไม่ใช่อาจารย์ครับ/ค่ะ
  • คำว่า ありません ในตัวอย่างที่ ⑪ เป็นคำกริยาแปลว่า "ไม่อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต
  • คำว่า 居ません ในตัวอย่างที่ ⑫ เป็นคำกริยาแปลว่า "ไม่อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งมีชีวิต
 อ่านตรงนี้หน่อย
  • では ありません เป็นภาษาเขียน เวลาจะพูดมักใช้ว่า じゃ ありません (ja arimasen)
  • วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป เช่น
    ตัวอย่างที่ 3 : Watashi wa Tanakasan dewa arimasen ควรพูดว่า Watashiwa Tanakasandewaarimasen หรือ Watashiwa Tanakasanjaarimasen

 บทที่ 9 ประโยคคำถาม 

มีรูปแบบเดียวกันกับประโยคบอกเล่าและประโยคปฏิเสธ โดยเพิ่มคำว่า か ที่ท้ายประโยค ดังนี้

「ประธาน」+ は +「คำนาม」+ です か
「ประธาน」+ は +「คุณศัพท์」+ です か
「ประธาน」+ が +「กริยา」+ ます か

「ประธาน」+ は +「คำนาม」+ では ありません か
「ประธาน」+ は +「คุณศัพท์กลุ่มที่ 1 + く」+ ありません か
「ประธาน」+ は +「คุณศัพท์กลุ่มที่ 2」+ では ありません か
「ประธาน」+ が +「กริยา」+ ません か

あなた  田中さん です か
Anata wa Tanakasan desu ka
คุณคือคุณทานากะหรือเปล่าครับ/ค่ะ
はい、私 は 田中 です
Hai, watashi wa Tanaka desu
ใช่ ฉันคือทานากะครับ/ค่ะ
田中さん  学生 では ありません か
Tanakasan wa gakusei dewa arimasen ka
คุณทานากะไม่ใช่นักเรียนหรือครับ/ค่ะ
いいえ、私 は 先生 です
Iie, watashi wa sensei desu
เปล่า ฉันเป็นอาจารย์ครับ/ค่ะ
スイカ  丸く ありません か
Suika wa maruku arimasen ka
แตงโมไม่กลมหรือครับ/ค่ะ
いいえ、 スイカ は 丸く ありません。四角い です
Iie, suika wa maruku arimasen. Shikakui desu
ไม่ แตงโมไม่กลม สี่เหลี่ยมครับ/ค่ะ
ソムチャイさん  親切 です か
Somuchaisan wa shinsetsu desu ka
คุณสมชายใจดีไหมครับ/ค่ะ
はい、親切 です
Hai, shinsetsu desu
ครับ/ค่ะ ใจดีครับ/ค่ะ
子供  泣きます か
Kodomo ga nakimasu ka
เด็กร้องไห้หรือเปล่าครับ/ค่ะ
はい、子供 が 泣きます
Hai kodomo ga nakimasu
ใช่ เด็กร้องไห้ครับ/ค่ะ
お母さん  居ます か
Okaasan ga imasu ka
คุณแม่อยู่ไหมครับ/ค่ะ
いいえ、お母さん が 居ません
Iie, okaasan ga imasen
ไม่ คุณแม่ไม่อยู่ครับ/ค่่ะ

คำอธิบาย
  • か เป็นคำต่อท้ายประโยคเพื่อทำให้เป็นประโยคคำถาม ใช้ได้กับทั้งประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ
  • ในการตอบคำถาม ปกติจะตอบด้วยคำว่า はい หรือ いいえ คือ
    • はい จะเป็นการตอบรับว่า สิ่งที่ถามนั้นถูกต้อง
    • いいえ จะเป็นการตอบปฏิเสธว่า สิ่งที่ถามนั้นไม่ถูกต้อง
  • การตอบคำถามโดยไม่ทวนประโยค สามารถตอบสั้นๆได้ ดังนี้
    • はい、そうです (Hai, sou desu) ใช่ เป็นเช่นนั้นครับ/ค่ะ
    • いいえ、違います (Iie, chigaimasu) เปล่า ไม่ใช่ครับ/ค่ะ
อ่านตรงนี้หน่อย
  • ですか และ ますか เป็นคำถามอย่างสุภาพ ใช้ได้ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน
  • ในภาษาพูด จะออกเสียงใหกระชับ โดยออกเสียง ですか ว่า des ka และออกเสียง ますか ว่า mas ka โดยขึ้นเสียงสูงเล็กน้อยเพื่อให้เป็นประโยคคำถาม