Breaking News

มีสาระดีดี มาให้คุณในทุกๆวัน

วิธีการแบ่งคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นเป็น 3 กลุ่ม


วิธีการแบ่งคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นเป็น 3 กลุ่ม


นักเรียนรู้จักใช่ไหมครับว่าคำกริยาภาษาญี่ปุ่นนั้น แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม
เช่น กริยา 行きます คือกริยากลุ่มที่ 1, กริยา 食べます คือกลุ่มที่ 2,  กริยา 来ます คือกลุ่มที่ 3

แล้วนักเรียนรู้จักด้วยใช่ไหมครับว่า
คำกริยาของภาษาญี่ปุ่นมีการผันรูปต่างๆ 
เช่น รูปพจนานุกรม รูปます รูป て รูปปฏิเสธ รูปอดีต รูปสามารถ รูปถูกกระทำ รูปให้กระทำ เป็นต้น 

อ่อ ปวดหัวแล้ว แต่ยังไม่หมดนะ นอกจากนี้ ยังมีด้วยว่า
คำกริยา 3 กลุ่มนั้น แต่ละกลุ่มมีวิธีการผันแตกต่างกัน

ต่ายต่ายต่าย....นี่แหละทำให้นักเรียนงง สับสนและทำให้การเรียนภาษาญี่ปุ่นยากมากขึ้นและน่าเบื่อ

เซงเซย์เลยจะอธิบายวิธีการแบ่งคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นเป็น 3 กลุ่มก่อนนะครับ

ใน 3 กลุ่มนี้ แบ่งออกได้ง่ายที่สุด คือ กลุ่มที่ 3 ซึ่งมีแค่  2  คำ คือ
来ます
します
กริยา 「します」 นั้น มันจะประกอบด้วยอาการนามต่างๆ เช่น
  ◆勉強します
  ◆そうじします
  ◆せんたくします
  ◆さんぽします
แต่เรามักจะสับสนและมีปัญหาในการแบ่งคำกริยากลุ่มที่ 1 กับกลุ่มที่ 2

ต่อไป จะอธิบายวิธีการแบ่งกลุ่มที่ 1 กับกลุ่มที่ 2


ก่อนอื่นเอาคำกริยาในรูป ます มา แล้วตัด ます ออก 
ส่วนที่เหลือนั้น เรียกว่า 語幹(ごかん)คือรากคำ เช่น
  ◆見ます  → 
  ◆食べます → 食べ  
  ◆聞きます → 聞き
  ◆買います → 買い
           ⇑
                       รากคำ
สังเกตดูรากคำแล้ว ถ้ารากคำนั้นมีแค่ 1 ช่วงเสียงหรือ 1 ตัวอักษร
แสดงว่าคำกริยานั้น เป็นกริยากลุ่มที่ 2 
  ◆見ます → 
  ◆ねます → ね   ⇐ กริยากลุ่มที่ 2
  ◆います → 


สังเกตดูรากคำแล้ว ถ้ารากคำนั้น ลงท้ายด้วยเสียง /e/ กล่าวคือ 
ลงท้ายด้วย  え、け、せ、て、  เป็นต้น แสดงว่าคำกริยานั้น 
เป็นกริยากลุ่มที่ 2

  ◆食べます  → べ←เสียง /e/
  ◆あつめます → あつめ←เสียง /e/ กริยากลุ่มที่ 2
  ◆あげます  → げ←เสียง /e/

ถึงบรรทัดนี้ เข้าใจไหม 
ตัด ます ออก แล้วหลือแค่ 1 ช่วงเสียง หรือลงท้ายด้วยเสียง /e/ 
แสดงว่าคำกริยานั้น เป็นกริยากลุ่มที่ 2

ถ้างั้น พูดได้ว่า นอกจากนั้น เป็นกริยากลุ่มที่ 1
คือ ตัด ます ออก แล้วมีมากกว่า 1 ช่วงเสียง
และลงท้ายด้วยเสียง /i
แสดงว่าคำกริยานั้น เป็นกริยากลุ่มที่ 1

  ◆行きます → き←เสียง /i/
  ◆帰ります → เสียง /i/ กริยากลุ่มที่ 1
  ◆のみます → のเสียง /i/

ฮู่ เสร็จแล้ว...อย่าพึ่งโล่งใจนะ เซงเซย์เสียใจที่ต้องบอกว่า
มีข้อยกเว้น...OMG!
คำกริยากลุ่มที่ 2 บางคำ ดูเหมือนกันกับกริยากลุ่มที่ 1 
เช่น   起きます รากคำนี้ คือ  起き มีมากกว่า 1 ช่วงเสียงและ
ลงท้ายด้วยเสียง /i/  เลยดูเหมือนกันกับกริยากลุ่มที่ 1  
แต่คำกริยานี้ เป็นกริยากลุ่มที่ 2 
คำกริยากลุ่มที่ 2  แบบนี้  มีไม่มาก แค่ 10 คำเช่น 
1.あびます(อาบ) 
2.起きます(ตื่น)
3.かります(ยืม) 
4.できます(ทำได้)  
5.とじます(ปิดหนังสือ)
6.おります(ลงยานพาหนะ)
7.おちます(ตก  หล่น)
8.たります(เพียงพอ)
9.しんじます(เชื่อ)
10.ぎます(เวลาผ่านไป) 
นักเรียนจึงต้องจำคำกริยากลุ่มที่ 2 พวกนี้ไว้

สรุป
1.ตัด ます ออกแล้ว มีแค่ 1 ช่วงเสียงหรือ 1 ตัวอักษร ⇒กลุ่มที่ 2 
2.ตัด ます ออกแล้ว ลงท้ายด้วยเสียง /e/ กลุ่มที่ 2
3.ตัด ます ออกแล้ว ลงท้ายด้วยเสียง /iกลุ่มที่ 1
4.แต่มีข้อยกว้น ลงท้ายด้วยเสียง /i/ แต่เป็นกลุ่มที่ 2 มี 10 คำพิเศษ
  เช่น あびます、起きます、かります、できます、とじます、
おります、おちます、たります、しんじます、すぎます
5.สุดท้ายนี้ อย่าลืมคำกริยากลุ่มที่ 3 来ます、します


เครดิต Mr. Kazuhiko Matsuo หรือ ครูต้อย