บทที่ 55 คำสั่ง
「กริยา - dic form」⇒「กริยา - ฟอร์มคำสั่ง 」
① | 早く 走れ |
| Hayaku hashire |
| จงวิ่งเร็วๆ
|
② | まじめ に やれ |
| Majime ni yare |
| จงตั้งใจทำ
|
③ | 野菜 を 食べろ |
| Yasai o tabero |
| จงทานผัก
|
④ | こっち に 来い |
| Kotchi ni koi |
| จงมาทางนี้
คำอธิบาย
- การผันคำกริยาให้เป็นฟอร์มคำสั่ง มีเฉพาะรูปแบบเป็นกันเองเท่านั้น ไม่มีฟอร์มสุภาพ
ปกติจะใช้พูดกับคนที่เป็นเพื่อนสนิท หรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่สนิทสนมกันเท่านั้น
- ดังนั้น หากจะออกคำสั่งกับบุคคลอื่นทั่วไป จึงต้องใช้คำพูดในลักษณะขอร้องหรือขอความร่วมมือ
- เว้นแต่คำพูดในลักษณะให้กำลังใจหรือการเชียร์ บางครั้งอาจจะพูดในฟอร์คำสั่งเป็นการทั่วไปก็ได้ เช่น
- がんばれ : Ganbare : จงพยายาม (สู้ๆ)
行け : ike : จงไป (ลุยเลย/บุกเลย)
|
บทที่ 56 ให้ทำ ~させる
「ประธาน」+ が +「คู่กรณี」+ に +「คำกริยา -seru form」 |
|

① | お兄さん が おじいさん に ご飯 を 食べさせます |
| Oniisan ga ojiisan ni gohan o tabesasemasu |
| พี่ชายให้คุณตาทานข้าวครับ/ค่ะ
|
② | お母さん が 赤ちゃん に ミルク を 飲ませます |
| Okaasan ga akachan ni miruku o nomasemasu |
| คุณแม่ให้เด็กอ่อนดื่มนมครับ/ค่ะ
|
③ | 先生 が 生徒 に 教室 の 掃除 を させます |
| Sensei ga seito ni kyoushitsu no souji o sasemasu |
| อาจารย์ให้นักเรียนทำความสะอาดห้องเรียนครับ/ค่ะ
|
④ | 友達 が 私 に 新しい 歌 を 聞かせます |
| Tomodachi ga watashi ni atarashii uta o kikasemasu |
| เพื่อนให้ฉันฟังเพลงใหม่ครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
คำกริยาในรูป seru form มีความหมายว่าเป็นการให้ทำ คือให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้ทำกริยานั้นๆ ซึ่งสามารถผันเป็นประโยคสุภาพ ประโยคปฏิเสธ ประโยคกันเอง ฯลฯ ได้ เช่น- ご飯 を 食べさせます : Gohan o tabesasemasu : ให้ทานข้าวครับ/ค่ะ (สุภาพ)
- ご飯 を 食べさせません : Gohan o tabesasemasen : ไม่ให้ทานข้าวครับ/ค่ะ (สุภาพ)
- ご飯 を 食べさせました : Gohan o tabesasemashita : ให้ทานข้าวแล้วครับ/ค่ะ (อดีต/สุภาพ)
- ご飯 を 食べさせています : Gohan o tabesasete imasu : กำลังให้ทานข้าวครับ/ค่ะ (ปัจจุบัน/สุภาพ)
- ご飯 を 食べさせる : Gohan o tabesaseru : ให้ทานข้าว (กันเอง)
- ご飯 を 食べさせない : Gohan o tabesasenai : ไม่ให้ทานข้าว (ปฏิเสธ/กันเอง)
- ご飯 を 食べさせた : Gohan o tabesaseta : ให้ทานข้าวแล้ว (อดีต/กันเอง)
|
|
บทที่ 57 ถูกกระทำ ~される
「ประธาน」+ が +「คู่กรณี」+ に +「กริยา - reru form」
|
① | おじいさん が 車 に ひかれます | | Ojiisan ga kuruma ni hikaremasu | | คุณตาถูกรถชนครับ/ค่ะ
| ② | 私たち が 先生 に 怒られます | | Watashitachi ga sensei ni okoraremasu | | พวกเราถูกอาจารย์โกรธครับ/ค่ะ
| ③ | 犯人 が 警察官 に 逮捕 されます | | Hannin ga keisatsukan ni taiho saremasu | | คนร้ายถูกตำรวจจับครับ/ค่ะ
| ④ | お兄さん が 友達 に 財布 を 盗まれます | | oniisan ga tomodachi ni saifu o nusumaremasu | | พี่ชายถูกเพื่อนขโมยกระเป๋าสตางค์ครับ
คำอธิบาย
คำกริยาในรูป reru form มีความหมายว่าเป็นการถูกกระทำ ซึ่งสามารถผันเป็นประโยคสุภาพ ประโยคปฏิเสธ ประโยคกันเอง ฯลฯ ได้ เช่น- 車 に ひかれます : Kuruma ni hikaremasu : ถูกรถชนครับ/ค่ะ (สุภาพ)
- 車 に ひかれません : Kuruma ni hikaremasen : ไม่ถูกรถชนครับ/ค่ะ (สุภาพ)
- 車 に ひかれました : Kuruma ni hikaremashita : ถูกรถชนครับ/ค่ะ (อดีต/สุภาพ)
- 車 に ひかれています : Kuruma ni hikarete imasu : กำลังถูกรถชนครับ/ค่ะ (ปัจจุบัน/สุภาพ)
- 車 に ひかれる : Kuruma ni hikareru : ถูกรถชน (กันเอง)
- 車 に ひかれない : Kuruma ni hikarenai : ไม่ถูกรถชน (กันเอง)
- 車 に ひかれた : Kuruma ni hikareta : ถูกรถชน (อดีต/กันเอง)
- 車 に ひかれなかった : Kuruma ni hikarenakatta : ไม่ถูกรถชน (อดีต/ปฏิเสธ/กันเอง)
|
บทที่ 58 เป็นไปได้ ~られる、(~れる)
คำกริยา สามารถผันในรูป -eru form หรือ -rareru / (reru) form เพื่อแสดงความหมายเป็นไปได้ |
|
「คำกริยากลุ่มที่ 1」⇒ | -eru form |
「คำกริยากลุ่มที่ 2 และ 3」⇒ | -rareru form (-reru form)
|

① | 赤ちゃん が 歩けます |
| Akachan ga arukemasu |
| เด็กอ่อนเดินได้ครับ/ค่ะ
|
② | ソムチャイさん は 日本語 が 話せます |
| Somuchaisan wa nihongo ga hanasemasu |
| คุณสมชายพูดภาษาญี่ปุ่นได้ครับ/ค่ะ
|
③ | 弟 が 自転車 に 乗れます |
| Otouto ga jitensha ni noremasu |
| น้องชายขี่จักรยานได้ครับ/ค่ะ
|
④ | お兄さん が 50 メートル しか 泳げません |
| Oniisan ga gojuu meetoru shika oyogemasen |
| พี่ชายว่ายน้ำได้เพียง 50 เมตรครับ/ค่ะ |
⑤ | 虫眼鏡 で 小さい 物 が 見られます |
| Mushimegane de chiisai mono ga miraremasu |
| ใช้แว่นขยายดูของเล็กๆได้ครับ/ค่ะ
|
⑥ | 山田さん は 辛い 料理 が 食べられます |
| Yamadasan wa karai ryouri ga taberaremasu |
| คุณยามาดะทานอาหารเผ็ดได้ครับ/ค่ะ
|
⑦ | お姉さん は 妹 の 服 が 着られます |
| Oneesan wa imouto no fuku ga kiremasu |
| พี่สาวใส่เสื้อของน้องสาวได้ครับ/ค่ะ
|
⑧ | 田中先生 は あした 学校 に 来られます |
| Tanaka sensei wa ashita gakkou ni koraremasu |
| อาจารย์ทานากะมาโรงเรียนได้วันพรุ่งนี้ครับ/ค่ะ
|
คำอธิบาย
- คำกริยากลุ่มที่ 1 สามารถผันเพื่อเปลี่ยนความหมายเป็นการสามารถทำได้ โดยมีรูปแบบการผัน ดังนี้
ความหมาย | คำกริยา | กริยาเป็นไปได้ | หลักเกณฑ์การผัน |
พบ | 会う | 会える | เปลี่ยน う เป็น え แล้วเติม る |
เดิน | 歩く | 歩ける | เปลี่ยน く เป็น け แล้วเติม る |
พูด | 話す | 話せる | เปลี่ยน す เป็น せ แล้วเติม る |
ยืน | 立つ | 立てる | เปลี่ยน つ เป็น て แล้วเติม る |
ตาย | 死ぬ | 死ねる | เปลี่ยน ぬ เป็น ね แล้วเติม る |
อ่าน | 読む | 読める | เปลี่ยน む เป็น め แล้วเติม る |
ตัด | 切る | 切れる | เปลี่ยน る เป็น れ แล้วเติม る |
- คำกริยากลุ่มที่ 2 และ 3 สามารถผันในรูป -rareru (หรือ -reru) ดังนี้
ความหมาย | คำกริยา | กริยาเป็นไปได้ | หลักเกณฑ์การผัน |
ดู | 見る miru | 見られる mirareru | 見れる mireru | เปลี่ยนจาก る เป็น られる (หรือ れる) |
สวม | 着る kiru | 着られる kirareru | 着れる kireru | เปลี่ยนจาก る เป็น られる (หรือ れる) |
ทาน | 食べる taberu | 食べられる taberareru | 食べれる tabereru | เปลี่ยนจาก る เป็น られる (หรือ れる) |
เปลี่ยน | 変える kaeru | 変えられる kaerareru | 変えれる kaereru | เปลี่ยนจาก る เป็น られる (หรือ れる) |
ทำ | する suru | x | x | - - - - - - - - |
มา | 来る kuru | 来られる korareru | 来れる koreru | เปลี่ยนจาก る เป็น られる (หรือ れる) |
- กริยาที่ผันอยู่ในรูป ~られます นั้น นอกจากจะมีความหมายว่า "เป็นไปได้" แล้ว ยังมีความหมายอื่นอีก 3 ประเภท คือ
- การถูกกระทำ เช่น
弟 に 日記 を 読まれました
Otouto ni nikki o yomaremashita
ถูกน้องชายอ่านสมุดบันทึกประจำวันครับ/ค่ะ
- คำยกย่อง เช่น
新聞 を 読まれます か
Shinbun o yomaremasu ka
จะอ่านหนังสือพิมพ์ไหมครับ/ค่ะ (สำนวนยกย่อง)
- ความรู้สึกที่อุบัติขึ้นเอง เช่น
別れた 彼女 の こと を 思い出された
Wakareta kanojo no koto o omoidasareta
รำลึกถึงเรื่องของแฟนที่เลิกกันไปแล้ว
ดังนั้น การแปลความหมายของกริยาที่อยู่ในรูป ~られます จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วย