Breaking News

มีสาระดีดี มาให้คุณในทุกๆวัน

1.รู้จักกับภาษาญี่ปุ่น | บทที่1-6

 บทที่ 1 รู้จักกับภาษาญี่ปุ่น


ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาหลักที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ได้กำหนดให้เป็นภาษาประจำชาติก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติ ภาษาญี่ปุ่นก็ถูกใช้เป็นภาษาประจำชาติทั้งในสถานที่ราชการและสถานศึกษาในประเทศญี่ปุ่น

     ปัจจุบัน ภาษาญี่ปุ่นนอกจากจะใช้โดยชาวญี่ปุ่นทั้งในและนอกประเทศรวมมากกว่า 130 ล้านคนแล้ว ยังได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติอย่างกว้างขวาง โดยมีชาวต่างชาติเรียนภาษาอยู่ในประเทศญี่ปุ่นประมาณ 170,000 คน และเรียนอยู่ใน 125 ประเทศทั่วโลก อีกประมาณ 3,600,000 คน โดยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 จะเป็นชาวเอเซีย เช่น เกาหลีใต้ 960,000 คน จีน 830,000 คน และฟิลิปปินส์ 720,000 คน เป็นต้น

โครงสร้างของประโยคในภาษาญี่ปุ่นมีรูปแบบหลัก 2 ชนิด คือ
  1. ประธาน (Subject) + ภาคแสดง (Predicate)
       เป็นรูปแบบพื้นฐานเพื่อบอกว่า ประธานเป็นอะไร ทำอะไร หรือมีลักษณะอย่างไร โดยภาคประธานจะต้องเป็นคำนาม ส่วนภาคแสดงจะเป็นคำนาม คำกริยา หรือคำคุณศัพท์ก็ได้ เช่น
    • Watashi wa onna desu
      ฉันเป็นผู้หญิง
    • Watashi ga ikimasu
      ฉันจะไป

    • Watashi wa kirei desu
      ฉันสวย
  2. หัวข้อ (Topic) + [ ประธาน + ภาคแสดง ]
       เป็นรูปแบบประโยคที่มีหัวข้อและประธานอยู่ในประโยคเดียวกัน เพื่อสื่อสารว่ากำลังกล่าวถึงหัวข้อหรือเรื่องอะไร และหัวข้อนั้นมีรายละเอียดอย่างไร เช่น
    • Zou wa hana ga nagai desu
      ช้าง งวงยาว
    • Watashi wa kami ga kirei desu
      ฉัน ผมสวย

    • Tai wa hito ga shinsetsu desu
      ประเทศไทย ผู้คนใจดี
    • Nihon wa otera ga ooi desu
      ญี่ปุ่น วัดมาก
      ประโยคแบบที่ 2 มีโครงสร้างแตกต่างกับภาษาอังกฤษ แต่คล้ายกับโครงสร้างภาษาในประเทศแถบเอเซียซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย ดังนั้น คนไทยที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นจึงสามารถทำความเข้าใจโครงสร้างประโยคทั้ง 2 ชนิดได้โดยไม่ยากนัก

     ภาษาญี่ปุ่นจะจัดเรียงคำในประโยคในตำแหน่งที่แตกต่างกับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กล่าวคือ วลีที่เป็นคำขยายประธานหรือภาคแสดง จะต้องวางไว้ข้างหน้าคำที่ต้องการขยาย เช่น

[คำขยาย 2] [คำขยาย 1] [ประธาน]+[คำขยาย 4] [คำขยาย 3] [ภาคแสดง]
[kaze wo hiita] [watashi no] [tomodachi ga]+[ashita] [byouin ni] [ikimasu]
[เป็นหวัด] [ของฉัน] [เพื่อน]+[วันพรุ่งนี้] [โรงพยาบาล] [จะไป]

คำว่า "เป็นหวัด" และ "ของฉัน" เป็นคำที่ขยายประธานคือ "เพื่อน"
ส่วนคำว่า "พรุ่งนี้" และ "โรงพยาบาล" เป็นคำที่ขยายภาคแสดง คือ "จะไป"
ประโยคข้างต้นจึงมีความหมายว่า "เพื่อนของฉันที่เป็นหวัด จะไปโรงพยาบาลวันพรุ่งนี้"

     นอกจากภาษาญี่ปุ่นจะมีคำช่วยกว่า 20 ชนิด เพื่อระบุหน้าที่ของคำในประโยคว่าแต่ละคำมีหน้าที่อย่างไรแล้ว คำกริยาและคำคุณศัพท์ยังสามารถผันให้เป็นรูปแบบต่างๆ เพื่อสื่อสารความหมายต่างๆได้เป็นสิบๆ วิธี และสามารถสร้างคำกริยาขึ้นใหม่ได้โดยแทบจะไม่มีขอบเขตจำกัด และยังมีการใช้คำสุภาพ คำถ่อมตน คำยกย่องฝ่ายตรงข้าม คำเลียนเสียง คำเลียนอาการ และมีการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนที่แตกต่างกัน ภาษาญี่ปุ่นจึงเป็นภาษาที่มีความลึกซึ้ง ยากที่จะเรียนรู้ให้แตกฉาน

  ตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่นมี 3 ชนิด ประกอบด้วย

  1. ฮิรางานะ (Hiragana)
          ประกอบด้วยตัวอักษรทั้งสิ้น 46 ตัว แต่ละตัวจะมีเสียงอ่านในตัวอักษรนั้น เช่น に(ni) ほ(ho) ん(n) ซึ่งเมื่อเขียนต่อกันก็จะได้เป็น にほん(nihon) ซึ่งมีความหมาย คือ ญี่ปุ่น
          ในการเรียนภาษาญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการแทนตัวอักษรญี่ปุ่นด้วยภาษาอังกฤษ (โรมาจิ) และเมื่อเริ่มคุ้นเคยแล้ว ก็จะเริ่มจำฮิรางานะ คาตาคานะ และคันจิ ต่อไปตามลำดับ
  2. คาตาคานะ (Katakana)
          ประกอบด้วยตัวอักษร 46 ตัว เช่นเดียวกับฮิรางานะ และอ่านออกเสียงเหมือนกัน เพียงแต่มีวิธีการเขียนแตกต่างกับฮิรางานะเท่านั้น
          คาตาคานะมักจะใช้แทนคำที่ทับศัพท์มากจากภาษาต่างชาติ เช่น テ(te) レ(re) ビ(bi) ซึ่งเมื่อเขียนต่อกันก็จะได้เป็น テレビ(terebi) ซึ่งเป็นการทับศัพท์และย่อให้กระชับจากคำว่าโทรทัศน์ (televison) เป็นต้น
  3. คันจิ (Kanji)
          เป็นตัวอักษรจีน ซึ่งญี่ปุ่นได้ดัดแปลงบางส่วนให้กระชับขึ้น มีทั้งสิ้นประมาณ 5,000 ตัว แต่ที่ใช้โดยทั่วไปมีประมาณ 1,800 ตัว แต่ละตัวจะมีความหมายและวิธีอ่านออกเสียงเป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการฝึกฝนให้เชี่ยวชาญ ผู้ที่เริ่มศึกษาใหม่อาจจะตั้งเป้าหมายว่าจะจำตัวคันจิเบื้องต้นประมาณ 50-100 ตัว

    นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดมาตรฐานการเขียนคำอ่านภาษาญี่ปุ่น ด้วยภาษาอังกฤษอีก 1 ชนิด คือ โรมาจิ ดังนี้
  4. โรมาจิ (Romaji)
          เป็นอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้แทนการเขียนอ่านด้วยภาษาญี่ปุ่น มีหลักเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจน จึงมีความสะดวกต่อชาวต่างชาติในการฝึกเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยการเขียนและอ่านด้วยอักษรโรมาจินี้

    สำหรับเว็บไซต์นี้จะใช้อักษรโรมาจิ และฮิรางานะ ในการอธิบายเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาญี่ปุ่น อาจจะไม่ทราบวิธีอ่านออกเสียงอักษรโรมาจิ ดั้งนั้น เพื่อเป็นแนวทางคร่าวๆ จึงได้เพิ่มเติมวิธีอ่านอักษรโรมาจิเป็นภาษาไทยในไว้อีก 1 หัวข้อ ดังนี้
  5. คำอ่านภาษาไทย
          เป็นวิธีการอ่านอักษรโรมาจิ เป็นภาษาไทย เพื่อให้ผู้ที่เริ่มศึกษาภาษาญี่ปุ่นมีแนวทางในการฝึกออกเสียง แต่เนื่องจากมีคำญี่ปุ่นบางคำ อาจเทียบเสียงเป็นภาษาไทยไม่ได้ จึงควรหาโอกาสฟังสำเนียงที่ถูกต้อง และฝึกฝนอย่างถูกต้องต่อไป


 บทที่ 2 ฮิรางานะ (Hiragana)   


ฮิรางานะ

          ฮิรางานะ (หรือฮิรากานะ) เป็นตัวอักษรสำหรับแสดงภาษาญี่ปุ่น ประกอบด้วยอักษรทั้งสิ้น 46 ตัว โดยแต่ละตัวจะมีเสียงเฉพาะตัว เมื่อนำฮิรางานะมาเรียงต่อกันเป็นคำ ก็จะออกเสียงตามตัวอักษรนั้นๆ เช่น に(ni) + ほ(ho) + ん(n) -- > にほん(nihon) ซึ่งแตกต่างกับอักษรภาษาไทย (ก ข ค ..) หรืออังกฤษ a b c .. ซึ่งมีพยัญชนะและสระ และหากนำมาเรียงต่อกันก็จะได้เป็นคำซึ่งออกเสียงตามวิธีผสมอักษรนั้นๆ



  ฮิรางานะมีจำนวนไม่แตกต่างจากอักขระในภาษาไทยและภาษาอังกฤษมากนัก จึงใช้เวลาในการศึกษาจดจำไม่นาน แต่เนื่องจากเป็นอักษรที่ไม่คุ้นเคย ดังนั้น ในตำราเรียนภาษาญี่ปุ่นสำหรับชาวต่างชาติเกือบทั้งหมด จึงเริ่มสอนโดยการแทนฮิรางานะด้วยตัวอักษรด้วยภาษาอังกฤษ (โรมาจิ) หลังจากนั้น จึงจะเริ่มจำฮิรางานะ คาตาคานะ และคันจิ ตามลำดับ

เสียงของฮิรางานะ


          ฮิรางานะมี 5 เสียง คือ
あ=A(อะ)い=I(อิ)う=U(อุ)え=E(เอะ)お=O(โอะ)

          และประกอบด้วยแถวที่เป็นต้นเสียง 8 แถว คือ
あ=Aか=Kさ=Sた=Tな=N
は=Hま=Mや=Yら=Rわ=W

          และประกอบด้วยตัวสะกด 1 ตัว คือ ん=N

เสียงขุ่น (dakuon)


เป็นการเปลี่ยนเสียงโดยการเติมสัญญลักษณ์   濁点 (dakuten) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการตามรูปทรงของสัญญลักษณ์ว่า tenten หรือ chonchon ตามหลังอักษรในแถว 「か」「さ」「た」「は」
          หรือโดยวิธีเติมสัญญักษณ์ 半濁点 (handakuten) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า maru ตามหลังอักษรในแถว 「は」 เพื่อให้เกิดเสียงที่เปลี่ยนไปจากเดิม

เสียงเพี้ยน หรือเสียงควบ (youon)

          คือการนำอักษรที่ออกเสียง 'i' เช่น き, し, ち, ..... มาผสมกับอักษรในแถว ya คือ や, ゆ, よ ที่แปลงรูปอักษรให้ตัวเล็กลงเป็น ゃ, ゅ, ょ เพื่อให้เกิดการออกเสียงควบกล้ำกันระหว่างสระ 2 ชนิด (เช่น i+a, i+u, i+o)

คำศัพท์คำเสียงควบ




บทที่ 3 คาตาคานะ (Katakana)   


คาตาคานะ
          เป็นตัวอักษรที่ดัดแปลงจากตัวอักษรคันจิ โดยนำเส้นบางส่วนมาแสดงเท่านั้น เช่น
ア(a) ดัดแปลงมาจากตัวอักษรคันจิ คือ 阿 ซึ่งออกเสียงว่า อะ หรือ
イ(i) ดัดแปลงมาจากตัวอักษรคันจิ คือ 伊 ซึ่งออกเสียงว่า อิ เป็นต้น
          คาตาคานะประกอบด้วยอักษรทั้งสิ้น 46 ตัว เช่นเดียวกับฮิรางานะ และมีวิธีการอ่านเช่นเดียวกับฮิรางานะทุกประการ โดยแต่ละตัวจะมีเสียงเฉพาะตัว และเมื่อนำคาตาคานะมาเรียงต่อกันเป็นคำ ก็ยังออกเสียงตามตัวอักษรนั้นๆ เช่น
カ (ka) + メ (me) + ラ (ra) -- > カメラ (kamera)
ซึ่งเป็นคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ คือ camera นั่นเอง
          ปัจจุบัน คาตาคานะมักจะใช้เป็นอักษรที่แสดงคำทับศัพท์จากภาษาต่างประเทศ ซึ่งคำศัพท์ดังกล่าวจะปรากฎในชีวิตประจำวันบ่อยครั้ง เช่น คอมพิวเตอร์ วิทยุ โทรศัพท์ กล้อง ฟิล์ม ฯลฯ ตลอดจนชื่อประเทศ ชื่อเมือง และชื่อคนต่างชาติ เป็นต้น
          ดังนั้น แม้ว่าในการเรียนภาษาญี่ปุ่นจะใช้ตัวอักษรอังกฤษ (โรมาจิ) และฮิรางานะ เป็นหลักก็ตาม แต่ก็มีความจำเป็นสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องศึกษาวิธีการอ่านและเขียนคาตาคานะควบคู่กันไปด้วย
คำศัพท์คำเสียงควบ




 บทที่ 4 คันจิ (Kanji)




คันจิ
          คันจิในภาษาญี่ปุ่นมีต้นกำเนิดจากอักษรจีน โดยญี่ปุ่นได้รับมาเป็นส่วนใหญ่ พร้อมกับมีการดัดแปลงเล็กน้อยเพื่อให้มีความสะดวกในการเขียนและการอ่าน มีทั้งสิ้นประมาณ 50,000 ตัว แต่ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาโบราณที่ปัจจุบันไม่มีการใช้งานแล้ว
          ในเดือนพฤศจิกายน คศ. 2010 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศแก้ไขจำนวนคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (常用漢字 : jouyou kanji) จากที่เคยกำหนดไว้เดิม 1,945 ตัว เป็น 2,136 ตัว โดยในจำนวนนี้เป็นคันจิที่กำหนดให้ศึกษาในระดับประถมศึกษาจำนวน 1,006 ตัว แบ่งเป็น ป.1 (80 ตัว) ป.2 (160 ตัว) ป.3 (200 ตัว) ป.4 (200 ตัว) ป.5 (185 ตัว) และ ป.6 (181 ตัว) ตามลำดับ
          คันจิเป็นอักษรที่มีทั้งความหมายและเสียงในตัวเอง คันจิ 1 ตัวจะมีวิธีอ่าน 2 แบบ คือ
1)kun-yomi
เป็นการอ่านแบบพ้องเสียงกับคำศัพท์ญี่ปุ่นที่มีอยู่เดิม
เช่น 山 จะอ่านว่า yama แปลว่า ภูเขา
2)on-yomi
เป็นการอ่านแบบจีน
เช่น 山 จะอ่านว่า san ซึ่งแปลว่า ภูเขา เช่นเดียวกัน

บทที่ 5 โรมาจิ (Roumaji)


โรมาจิ
          เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้แทนการอ่านออกเสียงภาษาญี่ปุ่น โดยการศึกษาภาษาญี่ปุ่นในเว็บไซต์นี้ จะใช้อักษรโรมาจิควบคู่ไปกับฮิรางานะ



บทที่ 6 การอ่านออกเสียงภาษาไทย


คำอ่านภาษาไทย
          เป็นวิธีการอ่านอักษรโรมาจิเป็นภาษาไทย เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาภาษาญี่ปุ่นซึ่งยังไม่คุ้นเคยกับวิธีการออกเสียงในภาษาญี่ปุ่น

          แต่เนื่องจากภาษาญี่ปุ่นบางคำ ไม่สามารถอ่านออกเสียงในภาษาไทยได้ชัดเจน ดังนั้น ผู้ที่จะศึกษาจึงควรหาโอกาสฟังภาษาญี่ปุ่นที่ถูกต้อง และฝึกฝนให้มีความคุ้นเคยต่อไป
วิธีการอ่านโรมาจิ
          เป็นการนำเสียงตามแถว (แนวนอน) มารวมกับเสียงสระ (แนวตั้ง)
เสียง อะเสียง อิเสียง อุเสียง เอะเสียง โอะ
แถว aa : อะi : อิu : อุe : เอะo : โอะ
แถว kaka : คะki : คิku : คุke : เคะko : โคะ
แถว sasa : สะshi : ชิsu : สุse : เสะso : โสะ
แถว tata : ทะchi : จิtsu : ซึte : เทะto : โทะ
แถว nana : นะni : นิnu : นุne : เนะno : โนะ
แถว haha : ฮะhi : ฮิfu : ฟุhe : เฮะho : โฮะ
แถว mama : มะmi : มิmu : มุme : เมะmo : โมะ
แถว yaya : ยะyu : ยุyo : โยะ
แถว rara : ละri : ลิru : ลุre : เละro : โละ
แถว wawa : วะo : โอะ
n : ตัวสะกด (ง, น, และ ม)
          แต่จะมีคำพิเศษซึ่งออกเสียงแตกต่างไปจากหลักเกณฑ์ข้างต้น คือ
1)し (shi) ออกเสียงคล้าย 'ชิ'
2)ち (chi) ออกเสียงคล้าย 'จิ'
3)つ (tsu) ออกเสียงคล้าย 'ซึ'
4)ふ (fu) ออกเสียงคล้าย 'ฟุ'
5)を (wo) ใช้อักษรโรมาจิ คือ wo แต่ออกเสียงเป็น 'โอะ'
          นอกจากนี้ แถว ら(ra) ทั้งแถว แม้จะแทนด้วยอักษรโรมาจิ คือ ตัว R แต่จะออกเสียงเป็นตัว L (ล.ลิง)




การออกเสียงสั้นและเสียงยาว
          ฮิรางานะและโรมาจิ จะออกเสียงเป็นสระเสียงสั้นทั้งหมด โดยมีเสียงสระ 5 เสียง คือ a (อะ) i (อิ) u (อุ) e (เอะ) และ o (โอะ) แต่มีคำยกเว้นที่ออกเสียงสระอึ คือ tsu (ซึ)
          การนำฮิรางานะที่เป็นสระเสียงเดียวกันมาเรียงต่อกัน จะเกิดเป็นสระเสียงยาว เช่น
-ka (คะ) + a (อะ) จะออกเสียงเป็น kaa (คา)
-to (โทะ) + o (โอะ) จะออกเสียงเป็น too (โท)
          แต่หากนำสระคนละเสียงมาเรียงต่อกัน จะไม่อ่านให้ควบกัน แต่จะอ่านทีละตัว ดังนี้ ka (คะ) + o (โอะ) จะออกเสียงเป็น kao (คะโอะ) เป็นต้น
aiueo
aaa : อาai : อะอิau : อะอุae : อะเอะao : อะโอะ
iia : อิอะii : อีiu : อิอุie : อิเอะio : อิโอะ
uua : อุอะui : อุอิuu : อูue : อุเอะuo : อุโอะ
eea : เอะอะei* : เอะอิ / เอeu : เอะอุee : เอeo : เอะโอะ
ooa : โอะอะoi : โอะอิ ou* : โอ (โอะอุ) oe : โอะเอะoo : โอ
ข้อยกเว้น
ou ปกติจะออกเสียงยาว คือ 'โอ'
เว้นแต่บางคำ จะแยกออกเสียงเป็น 'โอะอุ' เช่น


通う (kayou) ออกเสียงเป็น 'คะโยะอุ' หรือ
負う (ou) ออกเสียงเป็น 'โอะอุ' เป็นต้น

ei ไม่มีข้อกำหนดว่าจะออกเสียงเป็น 'เอะอิ' หรือ 'เอ'
หากตั้งใจพูดช้าๆ หรือเน้นเสียง ก็จะพูดว่า 'เอะอิ' เช่น


えい (ปลากระเบน) มักจะออกเสียงว่า 'เอะอิ' ซึ่งต่างกับคำว่า ええ (ใช่) ซึ่งออกเสียงว่า 'เอ'

แต่โดยทั่วไป มักจะออกเสียงยาว คือ 'เอ' เช่น


時計 (tokei) จะออกเสียงเป็น 'โทะ-เก' ซึ่งง่ายกว่า 'โทะเกะอิ' หรือ
きれい (kirei) จะออกเสียงเป็น 'คิเร' ซึ่งง่ายกว่า 'คิเระอิ' เป็นต้น

เสียงขุ่น (dakuon)
          คือเสียงที่เกิดจากการเติมเครื่องหมาย  (濁点 : dakuten) หรือที่เรียกว่าอย่างไม่เป็นทางการว่าเครื่องหมาย tenten หรือ chonchon ตามหลังอักษรในแถว 「か」「さ」「た」「は」 หรือเติมเครื่องหมาย  (半濁点 : handakuten) หรือที่เรียกว่าอย่างไม่เป็นทางการว่าเครื่องหมาย maru ตามหลังอักษรในแถว 「は」 เพื่อให้เกิดเสียงเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนี้
เสียง อะเสียง อิเสียง อุเสียง เอะเสียง โอะ
แถว ga
ga : กะgi : กิgu : กุge : เกะgo : โกะ
แถว za
za : ซะji : จิzu : ซุze : เซะzo : โซะ
แถว da
da : ดะji : จิtzu : ซึde : เดะdo : โดะ
แถว ba
ba : บะbi : บิbu : บุbe : เบะbo : โบะ
แถว pa
pa : ปะpi : ปิpu : ปุpe : เปะpo : โปะ
หมายเหตุตัวอักษร ji และ tzu ไม่สามารถแสดงคำอ่านเป็นภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง

เสียงเพี้ยน (youon)
          หรือเสียงควบ คือการเปลี่ยนรูปตัวอักษร や ゆ よ ให้เป็นอักษรตัวเล็ก ゃ ゅ ょ แล้วนำไปต่อท้ายอักษรเสียง อิ เพื่อให้เกืดเสียงควบ ดังนี้
1) ?ゃ ออกเสียงคล้าย 'เอียะ' หรือคล้าย 'อะ' เช่น
きゃ (kya) ออกเสียงคล้าย 'เคียะ'
ちゃ (cha) ออกเสียงคล้าย 'จะ'
2) ?ゅ ออกเสียงคล้าย 'อิว' แต่เป็นเสียงสั้น หรือเสียง 'อุ' เช่น
きゅ (kyu) จะอ่านคล้าย 'คิว' (แต่ออกเสียงสั้น)
ちゅ (chu) ออกเสียงคล้าย 'จุ'
3) ?ょ ออกเสียงคล้าย 'เอียว' แต่เป็นเสียงสั้น หรือออกเสียง 'โอะ' เช่น
きょ (kyo) จะอ่านคล้าย 'เคียว' (แต่ออกเสียงสั้น)
ちょ (cho) ออกเสียงคล้าย 'โจะ'
เสียง อะเสียง อุเสียง โอะ
แถว kiきゃきゅきょ
kya : เคียะkyu : คิวkyo : เคียว
แถว giぎゃぎゅぎょ
gya : เกียะgyu : กิวgyo : เกียว
แถว shiしゃしゅしょ
sha : ชะshu : ชุsho : โชะ
แถว jiじゃじゅじょ
ja : จะju : จุjo : โจะ
แถว chiちゃちゅちょ
cha : จะchu : จุcho : โจะ
แถว jiぢゃぢゅぢょ
ja : จะju : จุjo : โจะ
แถว hiひゃひゅひょ
hya : เฮียะhyu : ฮิวhyo : เฮียว
แถว biびゃびゅびょ
bya : เบียะbyu : บิวbyo : เบียว
แถว piぴゃぴゅぴょ
pya : เปียะpyu : ปิวpyo : เปียว
หมายเหตุ1)อักษรทั้งหมดออกเสียงสั้น
2)ตัวอักษร ji, ju, jo ไม่สามารถแสดงคำอ่านเป็นภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง

การออกเสียง っ (つ ตัวเล็ก)
          จะอ่านออกเสียง っ (つ ตัวเล็ก) เป็นตัวสะกด โดยมีเสียงเดียวกันกับตัวอักษรที่ตามหลังมา ตัวอย่างเช่น
いった จะออกเสียงเป็น itta (อิตตะ)
サッカー จะออกเสียงเป็น sakkaa (ซักกา)
ホット จะออกเสียงเป็น hotto (ฮตโตะ)
いっぷん จะออกเสียงเป็น ippun (อิปปุง)
にっぽん จะออกเสียงเป็น nippon (นิปปง)


การออกเสียงอักษรในแถว か และ が
  • แถว か (か、き、く、け、こ)
    • กรณีที่นำหน้าคำ จะออกเสียงเป็น "ค" เช่น
      階段 (kaidan : บันได)
      着物 (kimono : ชุดกิโมโน)
      果物 (kudamono : ผลไม้)
      結婚 (kekkon : แต่งงาน)
      子供 (kodomo : เด็ก)

    • กรณีที่ไม่อยู่หน้าคำ จะมีทั้งที่ออกเสียงคล้าย "ค" และ "ก" เช่น
      教会 (kyoukai : โบสถ์) ออกเสียงคล้าย "ก"
      葉巻 (hamaki : ซิการ์) ออกเสียงคล้าย "ค"
      贈り物 (okurimono : ของขวัญ) ออกเสียงคล้าย "ค"
      お酒 (osake : เหล้าสาเก) ออกเสียงคล้าย "ก"
      タコ (tako : ปลาหมึกยักษ์) ออกเสียงคล้าย "ก"

  • แถว が (が、ぎ、ぐ、げ、ご)
    • กรณีที่นำหน้าคำ จะออกเสียงเป็น "ก" เช่น
      学生 (gakusei : นักเรียน)
      銀行 (ginkou : ธนาคาร)
      軍隊 (guntai : กองทัพ)
      下駄 (geta : เกี๊ยะ)
      五 : (go : ห้า)

    • กรณีที่ไม่อยู่หน้าคำ จะออกเสียงเป็น "ง" เช่น
      大学 (daigaku : มหาวิทยาลัย)
      カギ (kagi : กุญแจ)
      泳ぐ (oyogu : ว่ายน้ำ)
      人間 (ningen : มนุษย์)
      日本語 (nihongo : ภาษาญี่ปุ่น)


การออกเสียงอักษรในแถว た
  • แถว た (เฉพาะ た、て、と)
    • กรณีที่นำหน้าคำ จะออกเสียงเป็น "ท" เช่น
      宝物 (takaramono : สมบัติมีค่า)
      手紙 (tegami : จดหมาย)
      とんぼ (tonbo : แมลงปอ)

    • กรณีที่ไม่อยู่หน้าคำ จะมีทั้งที่ออกเสียงคล้าย "ท" และ "ต" เช่น
      畑 (hatake : ทุ่งนา) ออกเสียงคล้าย "ท"
      交差点 (kousaten : สี่แยก) ออกเสียงคล้าย "ต"
      家庭 (katei : ที่บ้าน) ออกเสียงคล้าย "ท"
      音 (oto : เสียง) ออกเสียงคล้าย "ต"


การออกเสียง ん

  • ออกเสียงเป็น "ง" กรณีที่ตามหลังด้วยอักษรในแถว 「あ」「か」「が」「は」「わ」หรือมี ん เป็นตัวสุดท้าย
    原因 (gen-in : สาเหตุ)
    天気 (tenki : สภาวะอากาศ)
    マンガ (manga : การ์ตูน)
    前半 (zenhan : ครึ่งแรก)
    電話 (denwa : โทรศัพท์)
    日本 (nihon : ญี่ปุ่น)

  • ออกเสียงเป็น "น" กรณีที่ตามหลังด้วยอัษรในแถว 「さ」「ざ」「た」「だ」「な」「や」「ら」
    天才 (tensai : อัจฉริยะ)
    万歳 (banzai : ไชโย)
    本当 (hontou : จริง)
    今度 (kondo : ครั้งหน้า)
    天然 (tennen : ธรรมชาติ)
    親友 (shinyuu : เพื่อนสนิท)
    森林 (shinrin : ป่า)

  • ออกเสียงเป็น "ม" กรณีที่ตามหลังด้วยอักษรในแถว 「ば」「ぱ」「ま」
    今晩 (konban : คืนนี้)
    えんぴつ (enpitsu : ดินสอ)
    新米 (shinmai : ข้าวใหม่)

  • ดังนั้น คำทักทายตอนกลางวัน こんにちは (konnichiwa) จึงออกเสียงเป็น "คนิจิวะ"
    ส่วนคำทักทายตอนเย็น こんばんは (konbanwa) จึงออกเสียงเป็น "คบัวะ"