6.คำช่วย2/4 | บทที่25-29
บทที่ 25 การใช้ と
と เป็นคำช่วยเพื่อ ① เชื่อมคำนามที่มีสถานะเท่ากัน ② ชี้บุุคคลที่ร่วมกระทำกัน โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ |
|
「ประธาน」+ が +「บุคคล」+ と +「กริยา」+ ます |
① | きゅうり と トマト は 野菜 です。 |
Kyuuri to tomato wa yasai desu | |
แตงกวาและมะเขือเทศเป็นผักครับ/ค่ะ | |
② | みかん と りんご も 野菜 です か。 |
Mikan to ringo mo yasai desu ka | |
ส้มและแอปเปิ้ลก็เป็นผักหรือครับ/ค่ะ | |
③ | いいえ、みかん と りんご は 果物 です。 |
Iie, Mikan to ringo wa kudamono desu | |
ไม่ ส้มและแอปเปิ้ลเป็นผลไม้ครับ/ค่ะ | |
④ | これ は ニンジン と ネギ です。 |
Kore wa ninjin to negi desu | |
นี่คือแครอทและต้นหอมครับ/ค่ะ |
⑤ | 中国 と インド は 広い です |
Chuugoku to Indo wa hiroi desu | |
ประเทศ่จีนกับประเทศอินเดียกว้างครับ/ค่ะ | |
⑥ | シンガポール と 台湾 も 広い です か |
Singapooru to Taiwan mo hiroi desu ka | |
ประเทศสิงคโปร์กับประเทศไต้หวันก็กว้างหรือครับ/ค่ะ | |
⑦ | いいえ、シンガポール と 台湾 は 広く ありません |
Iie, Singapooru to Taiwan wa hiroku arimasen | |
ไม่ ประเทศสิงคโปร์กับประเทศไต้หวันไม่กว้างครับ/ค่ะ | |
⑧ | シンガポール と 台湾 は 狭い です |
Singapooru to Taiwan wa semai desu |
⑨ | 私 と お兄さん と お姉さん が 勉強 します |
Watashi to oniisan to oneesan ga benkyou shimasu | |
ฉันกับพี่ชายและพี่สาวเรียนหนังสือครับ/ค่ะ | |
⑩ | 弟 と 妹 も 勉強 します か |
Otouto to imouto mo benkyou shimasu ka | |
น้องชายกับน้องสาวก็เรียนหรือครับ/ค่ะ | |
⑪ | いいえ、弟 と 妹 は 勉強 しません |
Iie, Otouto to imouto wa benkyou shimasen | |
น้องชายกับน้องสาวไม่เรียนครับ/ค่ะ | |
⑫ | 弟 と 妹 は 遊びます |
Otouto to imouto wa asobimasu | |
น้องชายกับน้องสาวเล่นครับ/ค่ะ |
⑬ | 私 は 彼 と 結婚 します |
Watashi wa kare to kekkon shimasu | |
ฉันจะแต่งงานกับเขาค่ะ | |
⑭ | お父さん が お母さん と 話します |
Otousan ga okaasan to hanashi masu | |
คุณพ่อคุยกับคุณแม่ครับ/ค่ะ | |
⑮ | お兄さん は 友達 と 一緒に 帰ります |
Oniisan wa tomodachi to issho ni kaerimasu | |
พี่ชายกลับบ้านพร้อมกับเพื่อนครับ/ค่ะ | |
⑯ | 妹 は 毎日 お母さん と 一緒に 寝ます |
Imouto wa mainichi okaasan to issho ni nemasu | |
น้องสาวนอนด้วยกันกับคุณแม่ทุกวันครับ/ค่ะ |
- と เป็นคำช่วยเพื่อ
- ใช้เชื่อมคำนามตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป โดยคำนามนั้นจะเป็นประธานของประโยค หรืออยู่ในสถานะอื่นก็ได้ ตามตัวอย่างที่ ①-⑫
- เพื่อชี้บุคคลที่มีการกระทำร่วมกัน ตามตัวอย่างที่ ⑬-⑯
- 一緒に : isshoni เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำกริยา มีความหมายว่า "ด้วยกัน พร้อมกัน" ซึ่งเมื่อใช้ร่วมกับคำว่า と จะมีความหมายว่า "~ทำด้วยกันกับ~"
อ่านตรงนี้หน่อย
กรณีที่ใช้ と เพื่อเชื่อมคำหลายๆคำ ควรใช้ そして เป็นคำเชื่อมตัวสุดท้าย เช่น
- みかん と りんご と いちご そして ぶどう は 果物 です
Mikan to ringo to ichigo soshite budou wa kudamono desu
ส้มและแอปเปิ้ลและสตรอเบอรี่และองุ่นเป็นผลไม้
บทที่ 26 การใช้ や
や เป็นคำเชื่อมคำนามที่มีสถานะเท่ากัน โดยมีนัยยะว่าเป็นการยกมาพูดบางส่วน |
|
「ประธาน」+ は +「คำนาม 1」や「คำนาม 2」+ です |
① | パタヤ や プーケット は タイ の 観光地 です。 |
Patayaa ya puuketto wa tai no kankouchi desu | |
พัทยาภูเก็ตเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศไทยครับ/ค่ะ | |
② | 牛 や 馬 や 象 は 動物 です。 |
Ushi ya uma ya zou wa doubutsu desu | |
วัว ม้า ช้าง เป็นสัตว์ครับ/ค่ะ | |
③ | 私 の 友達 は ソムチャイ さん や クンラヤー さん です。 |
Watashi no tomodachi wa Somuchai san ya Kunrayaa san desu | |
เพื่อนของฉันได้แก่คุณสมชายและคุณกุลยาครับ/ค่ะ | |
④ | 日本 の 都市 の 名前 は 東京 や 大阪 など です。 |
Nihon no toshi no namae wa toukyou ya oosaka nado desu | |
ชื่อเมืองของประเทศญี่ปุ่นได้แก่โตเกียวและโอซากา เป็นต้น ครับ/ค่ะ |
⑤ | 日本 の カレー や ラーメン は おいしい です |
Nihon no karee ya raamen wa oishii desu | |
แกงกะหรี่และราเมงของญี่ปุ่นอร่อย | |
⑥ | 子猫 や 子犬 は かわいい です |
Koneko ya koinu wa kawaii desu | |
ลูกแมวลูกหมาน่ารัก | |
⑦ | 図書館 や 美術館 は 静か です |
Toshokan ya bijutsukan wa shizuka desu | |
ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์เงียบ | |
⑧ | 田中さん や 山田さん は 元気 です |
Tanakasan ya Yamadasan wa genki desu | |
คุณทานากะคุณยามาดะสบายดี |
⑨ | お兄さん や お姉さん が 泳ぎます |
Oniisan ya oneesan ga oyogimasu | |
พี่ชายพี่สาวว่ายน้ำ | |
⑩ | おじさん や おばさん が 散歩 します |
Ojisan ya obasan ga sanpo shimasu | |
คุณลุงคุณป้าเดินเล่น | |
⑪ | 本 や ノート など が あります |
Hon ya nooto nado ga arimasu | |
สมุดหนังสือ เป็นต้น อยู่ | |
⑫ | ライオン や キリン など が います |
Raion ya kirin nado ga imasu | |
สิงโตและยีราฟ เป็นต้น อยู่ คำอธิบาย |
- や เป็นคำช่วย เพื่อเชื่อมคำนามที่มีสถานะเท่าเทียมกันตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป โดยมีความหมายเป็นนัยยะว่าสิ่งที่กล่าวถึงนั้นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง ยังมีสิ่งอื่นที่ไม่ได้กล่าวถึงอยู่อีก
- など เป็นคำช่วยเพื่อแสดงว่าเป็นเพียงการยกตัวอย่างบางรายการ อธิบายรายละเอียดไว้ตาม link บทที่ 90 การยกตัวอย่าง ~など
บทที่ 27 การใช้ を
を เป็นคำช่วยเพื่อระบุกรรม สถานที่เริ่มต้นการเดินทางหรือเดินทางผ่าน หรือบุุคคลที่ถูกกระทำ |
「ประธาน」+ が + | 「กรรม」 「สถานที่」 「บุคคล」 | + を +「กริยา」+ ます |
① | お兄さん が テレビ を 見ます |
Oniisan ga terebi o mimasu | |
พี่ชายดูทีวีครับ/ค่ะ | |
② | 弟 が 本 を 読みます |
Otouto ga hon o yomimasu | |
น้องชายอ่านหนังสือครับ/ค่ะ | |
③ | お母さん が かぜ を 引きます |
Okaasan ga kaze o hikimasu | |
คุณแม่เป็นหวัดครับ/ค่ะ | |
④ | おばあさん が 気 を 失います |
Obaasan ga ki o ushinaimasu | |
คุณยายหมดสติครับ/ค่ะ |
⑤ | 子供 が 道路 を 渡ります |
Kodomo ga douro o watarimasu | |
เด็กข้ามถนนครับ/ค่ะ | |
⑥ | 弟 が 廊下 を 走ります |
Otouto ga rouka o hashirimasu | |
น้องชายวิ่งตามระเบียงครับ/ค่ะ | |
⑦ | 先生 が 教室 を 出ます |
Sensei ga kyoushitsu o demasu | |
อาจารย์ออกจากห้องเรียนครับ/ค่ะ | |
⑧ | 飛行機 が 空港 を 出発します |
Hikouki ga kuukou o shuppatsu shimasu | |
เครื่องบินออกเดินทางจากสนามบินครับ/ค่ะ |
⑨ | 彼 が 友達 を 笑わせます |
Kare ga tomodachi o warawasemasu | |
เขาทำให้เพื่อนหัวเราะ | |
⑩ | 店員 が お客さん を 満足させます |
Ten-in ga okyakusan o manzoku sasemasu | |
พนักงานทำให้ลูกค้าพึงพอใจครับ/ค่ะ | |
⑪ | 彼女 を 喜ばせます |
Kanojo o yorokobasemasu | |
ทำให้เธอมีความสุขครับ/ค่ะ |
を เป็นคำช่วยซึ่งมีการใช้งาน ดังนี้
- ชี้กรรมซึ่งเป็นการกระทำโดยตรง เช่น ทานข้าว ดื่มน้ำ เขียนหนังสือ ตามตัวอย่างที่ ①-②
- ชี้กรรมสิ่งเป็นการกระทำเชิงนามธรรม ตามตัวอย่างที่ ③-④)
- ชี้สถานที่ซึ่งเป็นเส้นทางในการเดินทาง โดยมีคำกริยาเป็นอกรรมกริยา เช่น เดินข้ามถนน วิ่งตามระเบียง ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑥
- ชี้สถานที่ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทาง โดยมีคำกริยาเป็นอกรรมกริยา เช่น ออกจากห้อง ออกจากบ้าน ตามตัวอย่างที่ ⑦-⑧
- ชี้บุคคลที่ถูกกระทำ เช่น ทำให้เขาโกรธ ทำให้เธอมีความสุข ตามตัวอย่างที่ ⑨-⑪
อ่านตรงนี้หน่อย
- ทำไมประโยคในภาษาญี่ปุ่นจึงไม่เรียงคำเหมือนกับภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
เช่น ฉันทานข้าว ทำไมในภาษาญี่ปุ่น จึงใช้ว่า ฉัน ข้าว ทาน
เรื่องนี้อธิบายได้ไม่ยาก
ประโยคในภาษาญี่ปุ่นมีโครงสร้างพื้นฐาน 2 ส่วน คือ 1)ส่วนที่เป็นประธาน และ 2)ส่วนที่เป็นภาคแสดง
ประโยค "ฉันทานข้าว" มีส่วนที่เป็นประธาน คือ "ฉัน" และส่วนที่เป็นภาคแสดง คือ "ทาน"
ในภาษาญี่ปุ่น วลีที่ขยายประธาน จะต้องวางไว้หน้าประธาน และวลีที่ขยายภาคแสดง จะต้องวางไว้หน้าภาคแสดงเสมอ
ดังนั้น "ข้าว" ซึ่งเป็นวลีที่ขยายภาคแสดง จึงต้องวางไว้หน้าคำว่า "ทาน" นั่นเอง - เพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้น ขอยกตัวอย่างประโยค คือ "ฉันดื่มน้ำเย็น"
คำว่า "เย็น : tsumetai" เป็นคำคุณศัพท์ขยาย "น้ำ : mizu" จึงต้องนำคำว่า "เย็น" ไปวางไว้หน้า "น้ำ"
คำว่า "น้ำเย็น" จึงต้องพูดว่า --> つめたい みず tsumetai mizu
แต่ "น้ำเย็น" ก็เป็นส่วนที่ขยายภาคแสดงคือ "ดื่ม : nomimasu" ดังนั้น จึงต้องนำคำว่า "น้ำเย็น" ไปไว้หน้า "ดื่ม" อีกต่อหนึ่ง
ฉันดื่มน้ำเย็น จึงต้องพูดว่า 私 は つめたい 水 を 飲みます Watashi wa tsumetai mizu o nomimasu
บทที่ 28 การใช้ に
に เป็นคำช่วยที่มีลักษณะการใช้งานหลายรูปแบบ เช่น ใช้ชี้สถานที่ เวลา หรือบุคคล |
|
① | お父さん が 会社 に 行きます |
Otousan ga kaisha ni ikimasu | |
คุณพ่อไปบริษัทครับ/ค่ะ | |
② | おじいさん が 電車 に 乗ります |
Ojiisan ga densha ni norimasu | |
คุณปู่ขึ้นรถไฟครับ/ค่ะ | |
③ | お客さん が 家 に 来ます |
Okyakusan ga ie ni kimasu | |
แขกมาที่บ้านครับ/ค่ะ | |
④ | 先生 が 部屋 に 戻ります |
Sensei ga heya ni modorimasu | |
อาจารย์กลับห้องครับ/ค่ะ |
⑤ | ノート が 机 の 上 に あります |
Nooto ga tsukue no ue ni arimasu | |
สมุดอยู่บนโต๊ะครับ/ค่ะ | |
⑥ | 先生 が 本 を 机 の 上 に 置きます |
Sensei ga hon o tsukue no ue ni okimasu | |
อาจารย์วางหนังสือบนโต๊ะครับ/ค่ะ | |
⑦ | お父さん が 会社 に 居ます |
Otousan ga kaisha ni imasu | |
คุณพ่ออยู่ที่บริษัทครับ/ค่ะ | |
⑧ | おばあさん が 台所 に 居ます |
Obaasan ga daidokoro ni imasu | |
คุณยายอยู่ในครัวครับ/ค่ะ |
⑨ | お母さん が 毎日 6時 に 起きます |
Okaasan ga mainichi rokuji ni okimasu | |
คุณแม่ตื่นเวลา 6 โมงเช้าทุกวันครับ/ค่ะ | |
⑩ | お父さん が 7時 に 出かけます |
Otousan ga shichiji ni dekakemasu | |
คุณพ่อออกจากบ้านตอน 7 โมงเช้าครับ/ค่ะ | |
⑪ | お兄さん が 9時 に 帰ります |
Oniisan ga kuji ni kaerimasu | |
พี่ชายกลับมาตอน 3 ทุ่มครับ/ค่ะ | |
⑫ | 弟 が 10時 に 寝ます |
Otouto ga juuji ni nemasu | |
น้องชายนอนตอน 4 ทุ่มครับ/ค่ะ |
⑬ | 先生 に 質問 を します |
Sensei ni shitsumon o shimasu | |
ถามคำถามอาจารย์ครับ/ค่ะ | |
⑭ | お母さん に お小遣い を もらいます |
Okaasan ni okotzukai o moraimasu | |
ได้เงินค่าขนมจากคุณแม่ครับ/ค่ะ | |
⑮ | 友達 に 電話番号 を 教えます |
Tomodachi ni denwa bangou o oshiemasu | |
บอกเบอร์โทรศัพท์แก่เพื่อนครับ/ค่ะ | |
⑯ | 弟 が 犬 に えさ を あげます |
Otouto ga inu ni esa o agemasu | |
น้องชายให้อาหารสุนัขครับ/ค่ะ คำอธิบาย
|
บทที่ 29 การใช้ へ
へ เป็นคำช่วยเพื่อระบุทิศทาง โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ |
「ประธาน」+ が +「ทิศทาง」+ へ +「กริยา」+ ます |
- คำช่วย へ อ่านว่า e เป็นคำช่วยเพื่อชี้ทิศทางของการเคลื่อนที่ เช่น
- ไปทางเหนือ ไปทางโน้น มาทางนี้
- กรณีที่ใช้ へ กับสถานที่ จะมีความหมายเช่นเดียวกันกับการใช้ に ซึ่งชี้จุดหมายปลายทาง เช่น
- 私 は 学校 へ 行きます : Watashi wa gakkou e ikimasu
私 は 学校 に 行きます : Watashi wa gakkou ni ikimasu
- 私 は 学校 へ 行きます : Watashi wa gakkou e ikimasu
- นอกจากนี้ へ ยังใช้เป็นคำขึ้นต้นในการเขียนจดหมายด้วย เช่น หากเขียนจดหมายถึงคุณทานากะ จะเริ่มต้นด้วยคำว่า
- 田中さんへ (Tanakasan e) ซึ่งหมายความว่า ถึงคุณทานากะ หรือเรียนคุณทานากะ
- ソムチャイより (Somuchai yori) ซึ่งหมายความว่า จากสมชาย
① | 船 が 南 へ 向かいます | |
Fune ga minami e mukaimasu | ||
เรือมุ่งไปทางใต้ครับ/ค่ะ | ||
② | 雲 が 東 へ 流れます | |
Kumo ga higashi e nagaremasu | ||
เมฆลอยไปทางตะวันออกครับ/ค่ะ | ||
③ | どこ へ 行きます か | |
Doko e ikimasu ka | ||
จะไปไหนครับ/ค่ะ | ||
④ | 学校 へ 行きます | |
Gakkou e ikimasu | ||
จะไปโรงเรียนครับ/ค่ะ คำอธิบาย
ทำไมคำช่วย へ (he) จึงอ่านออกเสียงว่า e
へ เป็นคำช่วยที่ใช้ชี้ทิศทาง ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำว่า 辺 (he) ซึ่งแปลว่าบริเวณใกล้ๆกับสิ่งนั้น หรือทิศทางไปยังสิ่งนั้น ในอดีตคำช่วย へ ก็อ่านว่า he แต่เนื่องจากการนำคำช่วย へ ไปต่อท้ายคำซึ่งลงท้ายด้วยตัวสะกด เช่น Nihon he หรือ Tanakasan he จะทำให้การออกเสียง he ไม่สะดวก ดังนั้น เสียง he จึงค่อยๆเพี้ยนไป จนกลายเป็นเสียง e ในที่สุด ปัจจุบัน ในภาษาเขียน จึงใช้คำช่วยว่า へ แต่จะอ่านออกเสียงเป็น e |