Breaking News

มีสาระดีดี มาให้คุณในทุกๆวัน

6.คำช่วย1/4 | บทที่20-24

 บทที่ 20 คำนามที่ไม่ต้องมีคำช่วย 


คำนามเกี่ยวกับระยะเวลา จำนวน และลักษณะนาม ไม่ต้องมีคำช่วย

「ประธาน」+ が +「ระยะเวลา」
「ลักษณะนาม」
+「กริยา」+ ます

お姉さん が 8時間 寝ます
Oneesan ga hachijikan nemasu
พี่สาวนอน 8 ชั่วโมงครับ/ค่ะ
弟 が テレビ を 2時間 見ます
Otouto ga terebi o nijikan mimasu
น้องชายดูทีวี 2 ชั่วโมงครับ/ค่ะ
田中 先生 が 一週間 休みます
Tanaka sensei ga isshuukan yasumimasu
อาจารย์ทานากะหยุด 1 สัปดาห์ครับ/ค่ะ
山田 さん が 一年間 タイ語 を 勉強 します
Yamadasan ga ichinenkan taigo o benkyou shimasu
คุณยามาดะเรียนภาษาไทย 1 ปีครับ/ค่ะ
女の子 が 三人 います
Onna no ko ga sannin imasu
เด็กผู้หญิงมี 3 คน
本 が 二冊 あります
Hon ga nisatsu arimasu
หนังสือมี 2 เล่ม
猫 が 一匹 います
neko ga ippiki imasu
แมวมี 1 ตัว
鉛筆 が 四本 あります
Enpitsu ga yonhon arimasu
ดินสอมี 4 แท่ง

คำอธิบาย

ตามปกติ คำนามทุกๆคำในภาษาญี่ปุ่น เมื่อจะใช้ในประโยคใดๆ มักจะต้องใช้ควบคู่กับคำช่วย เพื่อระบุว่าคำนามนั้นทำหน้าที่อะไรในประโยค แต่คำนามที่เกี่ยวกับระยะเวลา เช่น ปี เดือน สัปดาห์ วัน ชั่วโมง นาที วินาที คำนามที่เกี่ยวกับจำนวน และคำลักษณะนาม ไม่ต้องใช้คำช่วย

อ่านตรงนี้หน่อย

ในบทนี้ จะเห็นว่ามีประโยคที่มีคำนาม 2 คำ ที่ขยายคำกริยาตัวเดียวกัน เช่น
ตัวอย่างที่ ② จะมีทั้งคำว่า "ทีวี" และ "2 ชั่วโมง" ซึ่งเป็นวลีที่ขยายคำกริยา คือ "ดู"

กรณีเช่นนี้ จะเกิดความสงสัยว่า ควรจะเรียงลำดับคำนาม 2 ตัวนี้อย่างไร คือ
テレビ を 2時間 見ます (terebi wo ni-jikan mimasu) หรือ
2時間 テレビ を 見ます (ni-jikan terebi wo mimasu)

คำตอบคือ สามารถใช้ได้ทั้ง 2 แบบ แต่จะมีความหมายแตกต่างกันเล็กน้อย คือ
คำนามที่อยู่ใกล้คำกริยา จะเป็นคำสำคัญที่ต้องการสื่อสารมากกว่า

テレビ を 2時間 見ます จึงมีความหมายว่า "ดู 2 ชั่วโมง" ส่วนคำว่า "ทีวี" เป็นวลีที่มาขยายอีกครั้งหนึ่งว่า ที่ดู 2 ชั่วโมงนั้น ดูอะไร

2時間 テレビ を 見ます จึงมีความหมายว่า "ดูทีวี" ส่วนคำว่า "2 ชั่วโมง" เป็นวลีที่มาขยายต่อว่า ดูทีวีนานแค่ไหน

 บทที่ 21 การใช้ は 

は เป็นคำช่วยเพื่อชี้ประธานของประโยค มีรูปแบบการใช้งาน คือ

「ประธาน」+ は+「คำนาม」+ です
+「คุณศัพท์」+ です
+「กริยา」+ ます

これ  私 の 傘 です
Kore wa watashi no kasa desu
นี่คือร่มของฉันครับ/ค่ะ
この 青い 傘  私 の 傘 です
Kono aoi kasa wa watashi no kasa desu
ร่มสีน้ำเงินอันนี้คือร่มของฉันครับ/ค่ะ
私 の 傘  あの 赤い 傘 では ありません
Watashi no kasa wa ano akai kasa dewa arimasen
ร่มของฉันไม่ใช่ร่มสีแดงอันโน้นครับ/ค่ะ
私 の 大きい 傘  どこ です か
Watashi no ookii kasa wa doko desu ka
ร่มใหญ่ของฉันอยู่ที่ไหนครับ/ค่ะ
桜  きれい です
Sakura wa kirei desu
ซากุระสวยครับ/ค่ะ
桜 の 木  かなり 大きい です
Sakura no ki wa kanari ookii desu
ต้นซากุระค่อนข้างใหญ่ครับ/ค่ะ
桜 の 季節  そんな に 長く ありません
Sakura no kisetsu wa sonna ni nagaku arimasen
ฤดูของดอกซากุระไม่ได้ยาวนานขนาดนั้นครับ/ค่ะ
今年 の 桜  あまり きれい では ありません
Kotoshi no sakura wa amari kirei dewa arimasen
ดอกซากุระปีนี้ไม่ค่อยสวยเท่าไรครับ/ค่ะ
私  行きません
Watashi wa ikimasen
ฉันไม่ไปครับ/ค่ะ
お母さん  行きます
Okaasan wa ikimasu
คุณแม่ไปครับ/ค่ะ
お父さん  行きます か
Otousan wa ikimasu ka
คุณพ่อไปไหมครับ/ค่ะ
いいえ、お父さん  行きません
Iie, otousan wa ikimasen
ไม่ คุณพ่อไม่ไปครับ/ค่ะ

 คำอธิบาย

  • は เป็นคำช่วยชี้ประธาน มีความหมายเป็นนัยยะว่ากำลังพูดเรื่องของประธานโดยเฉพาะ สามารถใช้ได้ทั้งประโยคคำนาม ประโยคคุณศัพท์ และประโยคกริยา เช่น
    • ประโยคคำนาม ตัวอย่างที่ ①-④ これ は 私 の 傘 です (kore wa watashi no kasa desu) นี่คือร่มของฉัน  ⇒ กำลังพูดถึง "สิ่งของชิ้นนี้" ว่าคืออะไร
    • ประโยคคุณศัพท์ ตัวอย่างที่ ⑤-⑧ 桜 は きれい です (sakura wa kirei desu) ซากุระสวย  ⇒ กำลังพูดถึง "ซากุระ" ว่ามีลักษณะอย่างไร
    • ประโยคกริยา ตัวอย่างที่ ⑨-⑫ 私 は 行きません (watashi wa ikimasen) ฉันไม่ไป  ⇒ กำลังพูดถึงเรื่องของ "ฉัน" ว่าจะทำอะไร
  • ประโยคในรูปแบบ A は B です ปกติจะมีความหมายว่า สิ่งที่อยู่ข้างหน้า は คือประธานซึ่งผู้พูดผู้ฟังทราบอยู่แล้ว ส่วนสิ่งที่อยู่ข้างหลัง は คือคำอธิบายที่ผู้พูดต้องการพูดหรือถาม
  • แต่มีข้อควรระวังคือ การใช้ は ในประโยคกริยา เช่น ตามตัวอย่างที่ ⑨-⑫ นั้น ได้เคยอธิบายไว้ในบทอื่นก่อนหน้านี้แล้วว่า ตามปกติประโยคกริยาจะใช้คำช่วย คือ  ดังนั้น หากเปลี่ยนเป็น  จะเป็นการย้ำว่ากำลังพูดถึงเรื่องประธานโดยเฉพาะเจาะจง ไม่เกี่ยวข้องกับคนอื่นโดยเด็ดขาด เช่น
    • 私 は 行きません มีความหมายเป็นนัยยะว่า (คนอื่นเป็นอย่างไรไม่รู้ล่ะ แต่ที่แน่ๆคือ) ฉันไม่ไป
  • เนื่องจาก は จะใช้ในการเจาะจง หรือใช้กับสิ่งที่ผู้พูดทราบอยู่แล้ว ดังนั้น หากใช้กับประธานที่เป็นปุจฉาสรรพนาม คือเป็นสิ่งที่ไม่ได้เจาะจงหรือสิ่งที่ผู้พูดไม่ทราบ เช่น อันไหนคือร่มของคุณ อะไรสวย ใครไม่ไป ก็จะไม่ใช้ は แต่จะใช้ が ทั้งในคำถามและคำตอบ ดังนี้

    • どれ が あなた の 傘 です か : Dore ga anata no kasa desu ka : อันไหนคือร่มของคุณ
      これ が 私 の 傘 です : Kore ga watashi no kasa desu : อันนี้คือร่มของฉัน
    • 何 が きれい です か : Nani ga kirei desu ka : อะไรสวย
      桜 が きれい です (Sakura ga kirei desu) ซากุระสวย
    • 誰 が 行きません か (Dare ga ikimasen ka) ใครไม่ไป
      私 が 行きません (Watashi ga ikimasen) ฉันไม่ไป


    • หรือกล่าวได้ว่า ประโยคในรูปแบบ A が B です ปกติจะมีความหมายว่า สิ่งที่อยู่ข้างหน้า が คือประธานที่ผู้พูดต้องการถามหรือกล่าวถึง ส่วนสิ่งที่อยู่ข้างหลัง が คือคำอธิบายซึ่งผู้พูดผู้ฟังทราบอยู่แล้ว

      ความแตกต่างในการใช้ は และ が จะได้สรุปอีกครั้งในบทต่อไป
  • นอกจากนี้ は ยังมีวิธีการใช้งานในรูปแบบอื่นอีก ซึ่งจะอธิบายในภายหลังต่อไป

 อ่านตรงนี้หน่อย

เนื่องจาก は ทำหน้าที่ชี้ประธานในลักษณะเจาะจง
ดังนั้น หากพูดถึงประธานเดิมๆ หลายๆครั้ง เช่น
わたしは、 わたしは .. หรือ あなたは、あなたは ..
ก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดอาการอึดอัด เพราะเหมือนกับกำลังถูกเน้นย้ำในหัวข้อเดิมๆ

กรณีนี้ควรหลีกเลี่ยงโดยละภาคประธาน คือ ข้ามไปพูดเฉพาะภาคแสดงเลย เช่น

わたし は ソムチャイ です。タイ人 です。大学生 です。二十歳 です。
Watashi wa Somuchai desu. Tajijin desu. Daigakusei desu. Hatachi desu.
ผมชื่อสมชาย เป็นคนไทย เป็นนักศึกษา อายุ 20 ปีครับ


 บทที่ 22 การใช้ が 

が เป็นคำช่วยเพื่อชี้ประธานของประโยค มีรูปแบบการใช้งาน คือ
「ประธาน」+ が +「คำนาม」+ です
「คุณศัพท์」+ です
「กริยา」+ ます


これ が 私 の かばん です
Kore ga watashi no kaban desu
อันนี้คือกระเป๋าของฉันครับ/ค่ะ
あの 青い かばん が 私 の かばん です
Ano aoi kaban ga watashi no kaban desu
กระเป๋าสีน้ำเงินใบโน้นคือกระเป๋าของฉันครับ/ค่ะ
どれ が あなた の かばん です か
Dore ga anata no kaban desu ka
อันไหนคือกระเป๋าของคุณครับ/ค่ะ
これ が 私 の かばん です
Kore ga watashi no kaban desu
อันนี้คือกระเป๋าของฉันครับ/ค่ะ
月 が きれい です
Tsuki ga kirei desu
ดวงจันทร์สวยครับ/ค่ะ
今晩 の 月 が とても きれい です
Konban no tsuki ga totemo kirei desu
ดวงจันทร์คืนนี้สวยมากครับ/ค่ะ
何 が きれい です か
Nani ga kirei desu ka
อะไรสวยครับ/ค่ะ
夜空 が きれい です
Yozora ga kirei desu
ท้องฟ้ายามค่ำคืนสวยครับ/ค่ะ
弟 が 泣きます
Otouto ga nakimasu
น้องชายร้องไห้ครับ/ค่ะ
弟 が わんわん 泣きます
Otouto ga wanwan nakimasu
น้องชายร้องไห้โฮครับ/ค่ะ
誰 が 泣きます か
Dare ga nakimasu ka
ใครร้องไห้ครับ/ค่ะ
弟 が 泣きます
Otouto ga nakimasu


 คำอธิบาย
  •  เป็นคำช่วยเพื่อชี้ประธานของประโยค ซึ่งจะเป็นประโยคคำนาม ตัวอย่างที่ ①-④ ประโยคคุณศัพท์ ตัวอย่างที่ ⑤-⑧ หรือประโยคกริยา ตัวอย่างที่ ⑨-⑫ ก็ได้
  • แต่จากที่ได้เคยอธิบายไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า ตามปกติ ประโยคคำนามและประโยคคุณศัพท์ จะใช้คำช่วยคือ 
    ดังนั้น หากเปลี่ยนคำช่วยจาก  เป็น  ในประโยคคำนามและประโยคคุณศัพท์ จะเป็นการแสดงเจตนาของผู้พูดว่า ต้องการเจาะจงพูดเรื่องของประธานนั้นโดยตรง เช่น

    • ตัวอย่างที่ ① : これ が 私 の かばん です (Kore ga watashi no kaban desu)
      มีความหมายเป็นนัยยะว่า (อันอื่นไม่รู้ล่ะ แต่..) อันนี้ (นี่ละ) คือกระเป๋าของฉัน


    • ตัวอย่างที่ ④ : 月 が きれい です (Tsuki ga kirei desu)
      ก็มีความหมายเป็นนัยยะว่า (สิ่งอื่นไม่รู้ล่ะ แต่..) ดวงจันทร์ (นี่ละ) สวย
  • นอกจากนี้ が จะใช้ในประโยคถามตอบ ที่ผู้พูดไม่ทราบมาก่อนว่า สิ่งที่กำลังกล่าวถึงคืออะไร
    เช่น ตัวอย่างที่ ③-④ และตัวอย่างที่ ⑦-⑧ ดังนั้น
    • ตัวอย่างที่ ④ : これ が 私 の かばん です และ
    • ตัวอย่างที่ ⑧ : 月 が きれい です
    จึงเป็นเพียงการตอบคำถามที่ ③ และ ⑦ ตามปกติ ไม่ใช่เป็นการแสดงเจตนาเจาะจงเหมือนกับตัวอย่างที่อธิบายไว้ข้างต้น

อ่านตรงนี้หน่อย

ผู้ที่เริ่มเรียนไวยากรณ์ญี่ปุ่น จะค่อนข้างสับสนในการใช้คำว่า は และ が

ดังนั้น ในขั้นนี้จึงควรทำความเข้าใจว่า

は เป็นคำช่วยเพื่อชี้ประธานในประโยคคำนามและประโยคคุณศัพท์

が เป็นคำช่วยเพื่อชี้ประธานในประโยคกริยา

หากใช้สลับกัน จะมีความหมายว่ากำลังตั้งใจกล่าวเจาะจงถึงประธานเท่านั้น

นอกจากนี้ が จะใช้ในประโยคถาม-ตอบ ซึ่งผู้พูดไม่ทราบว่าประธานคืออะไร เช่น どれ、どこ、どちら、どの
ในกรณีเช่นนี้จะไม่มีความหมายเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นประโยคคำนาม คุณศัพท์ หรือกริยา ก็ตาม

แนวทางข้างต้นนี้ แม้ว่าอาจจะไม่สามารถใช้ได้ในทุกกรณี แต่ก็มีความสะดวกในการจดจำ และช่วยลดข้อผิดพลาดในการใช้ は และ が ลงได้มาก

 บทที่ 23 การใช้ の


の เป็นคำช่วยที่แสดงความสัมพันธ์ โดยคำนามที่อยู่ข้างหน้าจะเป็นคำขยายคำนามที่อยู่ด้านหลัง เช่น

「คำนาม 2」+ の +「คำนาม 1」



あなた  名前 は 何です か。
Anata no namae wa nan desu ka
ชื่อของคุณคืออะไรครับ/ค่ะ
私  名前 は 山田 です。
Watashi no namae wa Yamada desu
ชื่อของฉันคือยามาดะครับ/ค่ะ
この 犬 は 私  ペット です。
Kono inu wa watashi no petto desu
สุนัขตัวนี้คือสัตว์เลี้ยงของฉันครับ/ค่ะ
私  ペット  名前 は ポチ です。
Watashi no petto no namae wa pochi desu
ชื่อของสัตว์เลี้ยงของฉันคือโปจิครับ/ค่ะ
あなた  誕生日 は いつ です か。
Anata no tanjoubi wa itsu desu ka
วันเกิดของคุณวันไหนครับ/ค่ะ
私  誕生日 は 12月25日 です。
Watashi no tanjoubi wa juunigatsu nijuugonichi desu
วันเกิดของฉันวันที่ 25 เดือนธันวาคมครับ/ค่ะ
明日 は 私  誕生日 です。
Ashita wa watashi no tanjoubi desu
พรุ่งนี้วันเกิดของฉันครับ/ค่ะ
私 は 3人兄弟  末っ子 です。
Watashi wa sannin kyoudai no suekko desu
ฉันเป็นลูกคนสุดท้องของพี่น้อง 3 คนครับ/ค่ะ
 คำอธิบาย

  • の เป็นคำช่วยเพื่อแสดงความสัมพันธ์ เช่น
    • これ は 私 の 本 です
      Kore wa watashi no hon desu
      นี่คือหนังสือของฉัน
  • ประโยคข้างต้นมีภาคประธานคือ 「これ は」 และมีภาคแสดงคือ 「本 です」
    ดังนั้น เมื่อจะนำคำว่า 「私 の」ไปขยายภาคแสดง จึงต้องนำไปวางไว้ข้างหน้าภาคแสดง
  • การใช้ の จะใช้ซ้อนกันกี่ครั้งก็ได้ เช่น
    • 私 の お父さん の 友達 の 本 は 面白い です
      Watashi no otousan no tomodachi no hon wa omoshiroi desu


    • เมื่อเวลาแปลเป็นภาษาไทย จะแปลจากด้านหลังกลับมาด้านหน้า (เนื่องจากคำขยายจะวางซ้อนอยู่ข้างหน้าไปเรื่อยๆ) คือ
      หนังสือของเพื่อนของคุณพ่อของฉัน สนุกครับ/ค่ะ

บทที่ 24 การใช้ も

も เป็นคำช่วยขยายประธาน เพื่ออธิบายว่าประธานก็เป็นเช่นกันหรือทำเช่นเดียวกัน โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ

「ประธาน」+ も +「คำนาม」+ です
「คุณศัพท์」+ です
「กริยา」+ ます
ダチョウ  鳥 です か
Dachou mo tori desu ka
นกกระจอกเทศก็เป็นนกหรือครับ/ค่ะ
はい、ダチョウ  鳥 です
Hai, dachou mo tori desu
ใช่ นกกระจอกเทศก็เป็นนกครับ/ค่ะ
コウモリ  鳥 です か
Koumori mo tori desu ka
ค้างคาวก็เป็นนกหรือครับ/ค่ะ
いいえ、コウモリ は 鳥 では ありません。哺乳類 です
Iie, koumori wa tori dewa arimasen. Honyuurui desu
ไม่ ค้างคาวไม่ใช่นก เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมครับ/ค่ะ
イルカ  小さい です か
Iruka mo chiisai desu ka
โลมาก็เล็กหรือครับ/ค่ะ
いいえ、イルカ は 小さく ありません
Iie, iruka wa chiisaku arimasen
ไม่ โลมาไม่เล็กครับ/ค่ะ
鯨  小さく ありません か
Kujira mo chiisaku arimasen ka
วาฬก็ไม่เล็กหรือครับ/ค่ะ
はい、鯨 は 大きい です
Hai, kujira wa ookii desu
ใช่ วาฬใหญ่ครับ/ค่ะ
あなた  行きます か
Anata mo ikimasu ka
คุณก็ไปหรือครับ/ค่ะ
はい、私  行きます
Hai, watashi mo ikimasu
ใช่ ฉันก็ไปครับ/ค่ะ
先生  行きます か
Sensei mo ikimasu ka
อาจารย์ก็ไปหรือครับ
いいえ、先生  行きません
Iie, sensei wa ikimasen
ไม่ อาจารย์ไม่ไปครับ/ค่ะ
 คำอธิบาย

  • も ทำหน้าที่ขยายประธานเพื่อให้ทราบว่าประธานก็เป็นเช่นเดียวกัน หรือทำกริยาเหมือนกันกับเรื่องที่ทราบอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว มีความหมายตรงกับคำว่า "ก็" ในภาษาไทย
  • แต่หากตอบปฏิเสธว่าประธานไม่ใช่หรือไม่ได้ทำเหมือนกับเรื่องที่ทราบอยู่ก่อนหน้านี้ ปกติจะใช้คำช่วยคือ  เพื่อจำแนกให้ทราบความแตกต่างกับสิ่งอื่น