บทที่ 16 คำกริยา ~ます、~ません、~ますか、~ませんか
~ます เป็นคำกริยาในรูปคำสุภาพ โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ |
「ประธาน」+ が +「กริยา」 | + ます (ประโยคบอกเล่า)
+ ません (ประโยคปฏิเสธ)
+ ますか (ประโยคคำถาม)
+ ませんか (ประโยคปฏิเสธที่เป็นคำถาม) |

① | お父さん が 働きます。 |
| Otousan ga hatarakimasu |
| คุณพ่อทำงานครับ/ค่ะ |
② | お兄さん が 働きません。 |
| Oniisan ga hatarakimasen |
| พี่ชายไม่ทำงานครับ/ค่ะ |
③ | お母さん が 働きます か。 |
| Okaasan ga hatarakimasu ka |
| คุณแม่ทำงานไหมครับ/ค่ะ |
④ | お姉さん が 働きません か。 |
| Oneesan ga hatarakimasen ka
พี่สาวไม่ทำงานหรือครับ/ค่ะ |
⑤ | お父さん が 散歩 します。 |
| Otousan ga sanpo shimasu |
| คุณพ่อเดินเล่นครับ/ค่ะ |
⑥ | お母さん が 散歩 しません。 |
| Okaasan ga sanpo shimasen |
| คุณแม่ไม่เดินเล่นครับ/ค่ะ |
⑦ | 弟 が 散歩 します か。 |
| Otouto ga sanpo shimasu ka |
| น้องชายเดินเล่นไหมครับ/ค่ะ |
⑧ | 妹 が 散歩 しません か。 |
| Imouto ga sanpo shimasen ka |
| น้องสาวไม่เดินเล่นหรือครับ/ค่ะ
ชนิดของคำกริยา
คำกริยาสามารถแบ่งออกได้หลายวิธี เช่น
- แบ่งตามประเภทและหน้าที่
- อกรรมกริยา
คือ คำกริยาที่ผลการกระทำเกิดอยู่ประธานเท่านั้น ไม่ส่งผลที่เกิดกับบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่น เช่น ฝนตก (雨が降る : ame ga furu) พระอาทิตย์ตก (太陽が沈む : taiyou ga shizumu) ดอกไม้บาน (花が咲く : hana ga saku)
- สกรรมกริยา
คือ คำกริยาที่ผลการกระทำเกิดขึ้นโดยตรงกับบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่น รวมถึงการทำหรือสร้างให้เกิดของใหม่ขึ้นด้วย เช่น อ่านหนังสือ (本を読む : hon o yomu) ร้องเพลง (歌を歌う : uta o utau) ปลูกบ้าน (家を建てる : ie o tateru) เลี้ยงลูก (子供を育てる : kodomo o sodateru) ชกฝ่ายตรงข้าม (相手を殴る : aite o naguru) ชมนักเรียน (生徒を褒める : seito o homeru) จับขโมย (泥棒を捕まえる : dorobou o tsukamaeru) คำกริยากลุ่มนี้ปกติจะใช้คำช่วยคือ を เพื่อชี้ว่าผลการกระทำเกิดขึ้นกับบุคคลหรือสิ่งใด
- แบ่งตามการผันรูป
คำกริยาสามารถผันให้อยู่ในฟอร์มต่างๆ เช่น ฟอร์มปกติ ฟอร์มสุภาพ ฟอร์มปฏิเสธ ฟอร์มอดีต ฯลฯ การแบ่งกลุ่มตามการผันรูปนี้จะอธิบายในบทอื่นภายหลังต่อไป
- แบ่งตามคำตามท้าย
- คำกริยาปกติ
เป็นคำกริยาพื้นฐานทั่วไป ซึ่งปกติจะใช้ตัวคันจิเพียง 1 ตัว เช่น 食べます (tabemasu : ทาน) 行きます (ikimasu : ไป) 働きます (hatarakimasu : ทำงาน)
- คำกริยาที่ตามท้ายด้วย する(します)
เป็นคำกริยาที่ส่วนใหญ่มักสร้างขึ้นจากคันจิ 2 ตัว และตามท้ายด้วย する(します) ซึ่งหากตัดคำว่า する(します) ออก คำที่เหลืออยู่จะมีสถานะเป็นคำนามและส่วนใหญ่ยังคงความหมายเดิม นอกจากนี้คำกริยากลุ่มนี้ยังสามารถสร้างใหม่เพิ่มเติมขึ้นใหม่ให้เข้ากับยุคสมัย และสามารถนำคำทับศัพท์จากภาษาต่างประเทศมาใช้ได้อีก ทำให้คำศัพท์ในกลุ่มนี้มีปริมาณมากมายมหาศาล
ตัวอย่างคำกริยาที่ตามท้ายด้วย する(します)
คำกริยา | ความหมาย | คำนาม | ความหมาย |
勉強する (benkyou suru) | เรียน | 勉強 (benkyou) | การเรียน |
電話する (denwa suru) | พูดโทรศัพท์ | 電話 (denwa) | เครื่องโทรศัพท์ |
運転する (unten suru) | ขับรถ | 運転 (unten) | การขับขี่ |
質問する (shitsumon suru) | ถาม | 質問 (shitsumon) | คำถาม |
回答する (kaitou suru) | ตอบ | 回答 (kaitou) | คำตอบ |
食事する (shokuji suru) | ทานอาหาร | 食事 (shokuji) | อาหาร |
結婚する (kekkon suru) | แต่งงาน | 結婚 (kekkon) | การแต่งงาน |
帰宅する (kitaku suru) | กลับบ้าน | 帰宅 (kitaku) | การกลับบ้าน |
修理する (shuuri suru) | ซ่อม | 修理 (shuuri) | การซ่อม |
心配する (shinpai suru) | เป็นห่วง | 心配 (shinpai) | ความห่วงไย |
出発する (shuppatsu suru) | ออกเดินทาง | 出発 (shuppatsu) | การออกเดินทาง |
作成する (sakusei suru) | สร้าง | 作成 (sakusei) | การสร้าง |
生産する (seisan suru) | ผลิต | 生産 (seisan) | การผลิต |
確認する (kakunin suru) | ตรวจสอบ | 確認 (kakunin) | การตรวจสอบ |
横断する (oudan suru) | ข้าม | 横断 (oudan) | การข้าม |
開放する (kaihou suru) | เปืดกว้าง | 開放 (kaihou) | การเปิด |
開閉する (kaihei suru) | เปิดปิด | 開閉 (kaihei) | การเปิดปิด |
テストする (tesuto suru) | ทดสอบ | テスト (tesuto) | การสอบ |
アクセスする (akusesu suru) | ติดต่อ | アクセス (akusesu) | การติดต่อ |
メールする (meeru suru) | ส่งเมล์ | メール (meeru) | อีเมล์ |
プリントする (purinto suru) | พิมพ์ | プリント (purinto) | การพิมพ์ |
コピーする (kopii suru) | ถ่ายสำเนา | コピー (kopii) | สำเนาคู่ฉบับ |
タッチする (tatchi suru) | สัมผัส | タッチ (tatchi) | การสัมผัส |
キックする (kikku suru) | เตะ | キック (kikku) | การเตะ |
パンチする (panchi suru) | ต่อย | パンチ (panchi) | หมัด |
|
ประโยคปฏิเสธที่เป็นคำถาม ~ませんか สามารถใช้ในความหมายเชิญชวนได้ด้วย โดยการเปลี่ยนคำช่วยจาก は หรือ が เป็น も เช่น
- กรณีปกติ
田中さん が 散歩 しません か
Tanakasan ga sanpo shimasen ka
คุณทานากะไม่เดินเล่นหรือครับ/ค่ะ
- กรณีชักชวน
田中さん も 散歩 しません か
Tanakasan mo sanpo shimasen ka
คุณทานากะไม่เดินเล่นด้วยกันหรือครับ/ค่ะ
=> กรณีนี้ ผู้พูดกำลังเดินเล่นอยู่ หรือกำลังจะไปเดินเล่น จึงชักชวนให้คุณทานากะไปเดินเล่นด้วย
บทที่ 17 คำคุณศัพท์ กลุ่มที่ 1 高い山
คำคุณศัพท์เป็นคำที่อธิบายลักษณะของคำนาม จะวางไว้หน้าคำนามที่ต้องการอธิบาย |
คำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 จะลงท้ายด้วย い หากจะเปลี่ยนเป็นรูปปฏิเสธ จะเปลี่ยน い เป็น く แล้วตามด้วย ない |
「คุณศัพท์กลุ่มที่ 1 ~い」
「คุณศัพท์กลุ่มที่ 1 ~く」+ ない | +「คำนาม」 ⇒ ฟอร์มปกติ
+「คำนาม」 ⇒ ฟอร์มปฏิเสธ |
|
① | 富士山 は 大きい 山 です。 |
| Fujisan wa ookii yama desu |
| ภูเขาฟูจิเป็นภูเขาใหญ่ครับ/ค่ะ |
② | 天保山 は 大きくない 山 です。 |
| Tenpozan wa ookikunai yama desu |
| ภูเขาเทมโปเป็นภูเขาไม่ใหญ่ครับ/ค่ะ |
③ | ライオン は 怖い 動物 です。 |
| Raion wa kowai doubutsu desu |
| สิงห์โตเป็นสัตว์ที่น่ากลัวครับ/ค่ะ |
④ | 猫 は 怖くない 動物 です。 |
| Neko wa kowakunai doubutsu desu |
| แมวเป็นสัตว์ที่ไม่น่ากลัวครับ/ค่ะ |
⑤ | これ は 白い 犬 です。 |
| Kore wa shiroi inu desu |
| นี่คือสุนัขขาวครับ/ค่ะ |
⑥ | あれ は 白くない 犬 です。 |
| Are wa shirokunai inu desu |
| โน่นคือสุนัขไม่ขาวครับ/ค่ะ |
⑦ | あなた の ペット は 黒い 犬 です か。 |
| Anata no petto wa kuroi inu desu ka |
| สัตว์เลี้ยงของคุณคือสุนัขดำหรือครับ/ค่ะ |
⑧ | いいえ、私 の ペット は 黒くない 犬 です。 |
| Iie, watashi no petto wa kurokunai inu desu |
| ไม่ใช่ สัตว์เลี้ยงของฉันคือสุนัขไม่ดำครับ/ค่ะ |
|
คำอธิบาย
- คำคุณศัพท์ คือ คำที่อธิบายลักษณะของคำนามว่าเป็นอย่างไร เช่น สูง ต่ำ ดำ ขาว ฯลฯ
- คำคุณศัพท์ในกลุ่มที่ 1 จะลงท้ายด้วย い และสามารถนำไปวางไว้ข้างหน้าคำนาม เพื่อขยายคำนามได้โดยไม่ต้องมีคำช่วย เช่น
- 大きい 山 (ookii yama) -> ภูเขาใหญ่
- 高い 山 (takai yama) -> ภูเขาสูง
- คำคุณศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นจะอยู่หน้าคำนามที่ต้องการขยาย เช่น いい人 (ii hito) -> คนดี
ซึ่งตรงข้ามกับภาษาไทยที่คำคุณศัพท์จะอยู่หลังคำนามที่ต้องการขยาย
- การเปลี่ยนคำคุณศัพท์ให้อยู่ในรูปปฏิเสธ ทำได้โดยเปลี่ยนคำว่า い เป็น く แล้วเติม ない เช่น
- 大きくない 山 (ookikunai yama) -> ภูเขาไม่ใหญ่
- 高くない 山 (takakunai yama) -> ภูเขาไม่สูง
อ่านตรงนี้หน่อย
- 富士山 อ่านว่า Fujisan ไม่ใช่ฟูจิยามา เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดยมีความสูง 3,776 เมตร เป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับสนิท
- 天保山 (Tenpozan) เป็นภูเขาที่เตี้ยที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดยมีความสูงเพียง 4.53 เมตร หรือเท่ากับบ้าน 2 ชั้น สร้างขึ้นเมื่อปี คศ.1831 ด้วยดินทรายที่ได้จากการขุดลอกแม่น้ำลำคลองในเมืองโอซากาเพื่อป้องกันน้ำท่วมและเพื่อให้เรือสินค้าขนาดใหญ่เข้าเทียบท่าเรือโอซากาได้
บทที่ 18 คำคุณศัพท์ กลุ่มที่ 2 きれいな人
คำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2 จะลงท้ายด้วย な สามารถนำไปวางไว้หน้าคำนามโดยไม่ต้องมีคำเชื่อม |
การเปลี่ยนคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2 ให้เป็นรูปปฏิเสธ ทำได้โดยการตัด な ออก แล้วเติม ではない |
「ประธาน」+ は + | 「คุณศัพท์กลุ่มที่ 2 ~な」
「คุณศัพท์กลุ่มที่ 2」+ ではない | +「คำนาม」+ です |
|
① | ここ は 静か な 公園 です |
| Koko wa shizuka na kouen desu |
| ที่นี่เป็นสวนสาธารณะที่เงียบสงบครับ/ค่ะ |
② | あそこ は 静か ではない 公園 です |
| Asoko wa shizuka dewa nai kouen desu |
| ที่โน่นเป็นสวนสาธารณะที่ไม่เงียบสงบครับ/ค่ะ |
③ | バンコク は にぎやか な 町 です |
| Bankoku wa nigiyaka na machi desu |
| กรุงเทพเป็นเมืองที่พลุกพล่านครับ/ค่ะ |
④ | ホアヒン は にぎやか ではない 町 です |
| Hoahin wa nigiyaka dewa nai machi desu |
| หัวหินเป็นเมืองที่ไม่พลุกพล่านครับ/ค่ะ |
⑤ | 彼女 は 親切 な 人 です |
| Kanojo wa shinsetsu na hito desu |
| เธอเป็นคนใจดีครับ/ค่ะ |
⑥ | 彼女 の 友達 は 親切 ではない 人 です |
| Kanojo no tomodachi wa shinsetu dewa nai hito desu |
| เพื่อนของเธอเป็นคนที่ไม่ใจดีครับ/ค่ะ |
⑦ | 彼 は 丈夫 な 人 です |
| kare wa joubu na hito desu |
| เขาเป็นคนแข็งแรงครับ/ค่ะ |
⑧ | 彼女 は 丈夫 ではない 人 です |
| Kanojo wa joubu dewa nai hito desu |
| เธอเป็นคนไม่แข็งแรงครับ/ค่ะ |
คำอธิบาย
- คำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2 จะลงท้ายด้วย な สามารถนำไปวางหน้าคำนามเพื่อขยายคำนามได้โดยไม่ต้องมีคำช่วย เช่น
- 好き な 人 (suki na hito) คนที่ชอบ
- きれい な 人 (kirei na hito) คนสวย
- ในการเปลี่ยนเป็นรูปปฏิเสธ จะตัด な ออก แล้วเติม ではない (ไม่ใช่การเปลี่ยน な เป็น ではない) เช่น
- 好き ではない 人 (suki dewa nai hito) คนที่ไม่ชอบ
- きれい ではない 人 (kirei dewa nai hito) คนไม่สวย
- คำว่า 大きい (ookii) และ 小さい (chiisai) เป็นคำคุณศัพท์ในกลุ่มที่หนึ่ง แต่สามารถผันเสียงแบบกลุ่มที่สองได้ คือ
- 大き な 人 (ooki na hito)
- 小さ な 人 (chisa na hito)
แต่จะผันเสียงในรูปปฏิเสธแบบกลุ่มที่สอง (大き ではない) ไม่ได้
ต้องผันเสียงปฏิเสธในแบบกลุ่มที่หนึ่ง คือ 大きくない เท่านั้น
อ่านตรงนี้หน่อย
- หลักไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นเรียกคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 ว่า 形容詞 (keiyoushi : คำคุณศัพท์)
และเรียกคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2 ว่า 形容動詞 (keiyoudoushi : คำกริยาคุณศัพท์)
แต่เนื่องจากคำทั้ง 2 ชนิด ทำหน้าที่ขยายคำนามเหมือนกัน แตกต่างกันเพียงลงท้ายด้วย い หรือ な และมีวิธีการผันแตกต่างกันเท่านั้น
ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการเรียนการสอน ในเว็บไซต์นี้จึงจะเรียกว่าคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 และ 2 แทน
- คำว่า 大きい และ 大きな มีความหมายแตกต่างกันเล็กน้อย คือ
คำว่า 大きい จะใช้แสดงความใหญ่ในเชิงรูปธรรม ซึ่งใครเห็นก็รู้สึกว่าใหญ่ เช่น
- 大きい 山 (ookii yama) ภูเขาใหญ่
- 大きい 木 (ookii ki) ต้นไม้ใหญ่
ส่วนคำว่า 大きな จะใช้ในลักษณะความใหญ่ในเชิงนามธรรม เช่น
- 大きな 山 (ooki na yama) ภูเขาใหญ่ (ในเชิงนามธรรมหรือในความรู้สึกของผู้พูด)
- 大きな 夢 (ooki na yume) ความฝันที่ยิ่งใหญ่
- 大きな 希望 (ooki na kibou) ความหวังอันยิ่งใหญ่
- และสำหรับคำว่า 小さい (chiisai) และ 小さな (chiisa na) ก็จะมีวิธีการใช้งานในลักษณะเดียวกันนี้ด้วยเช่นกัน
บทที่ 19 คำวิเศษณ์ ゆっくり歩きます
คำวิเศษณ์ ทำหน้าที่ขยายคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ |
「ประธาน」+ が
「ประธาน」+ は | +「คำวิเศษณ์」「คำกริยา」+ ます
+「คำวิเศษณ์」「คำคุณศัพท์」+ です |

① | バス が もう すぐ 来ます |
| Basu ga mou sugu kimasu |
| รถเมล์กำลังจะมาครับ/ค่ะ |
② | バス が まだ 来ません |
| Basu ga mada kimasen |
| รถเมล์ยังไม่มาครับ/ค่ะ |
③ | バス が ゆっくり 走ります |
| Basu ga yukkuri hashirimasu |
| รถเมล์วิ่งช้าครับ/ค่ะ |
④ | バス が とても ゆっくり 走ります |
| Basu ga totemo yukkuri hashirimasu |
| รถเมล์วิ่งช้ามากครับ/ค่ะ |
⑤ | この 車 は とても きれい です |
| Kono kuruma wa totemo kirei desu |
| รถคันนี้สวยมากครับ/ค่ะ |
⑥ | 値段 も 非常 に 高い です |
| Nedan mo hijou ni takai desu |
| ราคาก็แพงมากครับ/ค่ะ |
⑦ | 私 の 車 は あまり きれい では ありません |
| Watashi no kuruma wa amari kirei dewa arimasen |
| รถของฉันไม่ค่อยสวยครับ/ค่ะ |
⑧ | 車 は かなり 便利 な 乗り物 です |
| Kuruma wa kanari benri na norimono desu |
| รถยนต์เป็นยานพาหนะที่ค่อนข้างมีประโยชน์มากครับ/ค่ะ |
⑨ | 空 は なぜ 青い です か |
| Sora wa naze aoi desu ka |
| ท้องฟ้าทำไมสีฟ้าครับ/ค่ะ |
⑩ | 新幹線 は どうして 速い です か |
| Shinkansen wa doushite hayai desu ka |
| รถไฟชินกังเซนทำไมวิ่งเร็วครับ/ค่ะ |
⑪ | この 箱 は どうやって 作ります か |
| Kono hako wa douyatte tsukurimasu ka |
| กล่องนี้สร้างอย่างไรครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
- คำวิเศษณ์ คือคำที่ทำหน้าที่ขยายความคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ เพื่อบอกอาการหรือปริมาณ เช่น วิ่งเร็ว วิ่งช้า สวยมาก สวยปานกลาง เป็นต้น
- คำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยา ตามตัวอย่างที่ ①-④
คำวิเศษณ์ที่ขยายคำคุณศัพท์ ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑧
- ส่วนคำวิเศษณ์ที่เกี่ยวกับการสอบถามหรือแสดงความสงสัย ได้แก่ なぜ、どうして、どうやって จะใช้กับประโยคคำถาม ตามตัวอย่างที่ ⑨-⑪
- นอกจากนี้ คำวิเศษณ์ยังสามารถขยายคำวิเศษณ์ด้วยกันเองได้ด้วย ตามตัวอย่างที่ ④ คือ とても ทำหน้าที่ขยาย ゆっくり เพื่ออธิบายว่า ช้ามาก
| |